จำนวนงานวิจัย ( 91 )

ทัศนคติและพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวิอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร
ทัศนคติ และพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ที่เคยสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโทบายแอพพลิเคชันจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ T-test ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 302 คน คิดเป็นร้อยละ 75.5 และมีอายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 40 มีระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรี จำนวน 296 คน คิดเป็นร้อยละ 74 มีสถานะภาพโสด จำนวน 371 คน คิดเป็นร้อยละ 92.8 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 40.75 และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า/เท่ากับ 15,000 บาท จำนวน 201 คิดเป็นร้อยละ 50.25 ด้านทัศนคติ พบว่าโดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติที่ดีต่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่าน โมบายแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 (S.D.=0.57) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุดทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามทีทัศนคติที่ดีต่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นในประเด็นทำให้ประหยัดเวลาจากการเดินทาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 (S.D.=0.46) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุดรองลงมา การสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นสามารถทำให้เข้าถึงอาหารได้ในเวลาที่ต้องการ 4.55 (S.D.=0.69) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุด และการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เช่นครอบครัวที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (S.D.=0.65) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุด ตามลำดับด้านพฤติกรรม พบว่าการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สั่งอาหารเดลิเวิรี่ผ่านแอพพลิเคชั่น Grab ประเภทอาหารที่เลือกสั่งอาหารไทย ค่าใช้จ่าย (ไม่รวมค่าจัดส่ง) โดยเฉลี่ยครั้งต่อเดือน 1-3 ครั้ง บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คือ ตนเอง สื่อที่ทำให้ทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหาร คือ สื่อสังคมออนไลน์ ระดับความสำคัญของการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P”s) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านบุคลากร ด้ายกายภาพและการนำเสนอ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด

ความภาคภูมิใจของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทตโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความภาคภูมิใจของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,145 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความภาคภูมิใจของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและสรุปผล ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 723 คน คิดเป้นร้อยละ 63.15 และเป็นเพศชาย จำนวน 422 คน คิดเป้นร้อยละ 63.15 ตามลำดับ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นระดับปริญญาตรีปีที่ 1 จำนวน 373 คิดเป็นร้อยละ 32.58 รองลงมาระดับปริญญาตรีปีที่ 2 จำนวน 270 คน คิดเป็นร้อยละ 23.58 ระดับปริญญาตรีปีที่ 4 จำนวน 253 คิดเป็นร้อลละ 22.09 และระดับปริญญาตรีปรที่ 3 จำนวน 249 คน คิดเป็นร้อยละ 21.75 ตามลำดับ สาขาวิชาส่วนใหญ่สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ จำนวน 634 คน คิดเป็นร้อยละ 55.37 รองลงมาสาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร จำนวน 269 คน คิดเป็นร้อยละ 23.49 สาขาวิชาคกรรมศาสตร์ประยุกต์ จำนวน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 14.58 สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและการจัดดารสินค้า จำนวน 38 คน คิดเป้นร้อยละ 3.33 และสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23 ตามลำดับ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศษสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีความภาคภูมิใจในตัวเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.57 เพื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ก่อนทำอะไรลงไปฉันจะคิดก่อนเสมอว่ามีผลดีต่อตนเองหรือไม่ อยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.00 ฉันจะคิดก่อนทำเสมอ อยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.00 ฉันสามารถบอกได้ว่าตนเองเก่งด้านไหน อยู่ในระดับมาก ที่มีค่าลี่ย 4.00 ตามลำดับ

แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 65 คนนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 417 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และการปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะกับเนื้อหาที่สอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ การตรวจผลงานและให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนผ่านระบบออนไลน์ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ได้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน และสร้างสื่อการสอนที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง อาจารย์มีความต้องการในการพัฒนาและการฝึกอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยี และควรมีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา และระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน สภาพและปัญหาในการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ พบว่า นักศึกษาขาดความมั่นใจเมื่อต้องนำเสนองานในรูปแบบออนไลน์ และการทำงานมอบหมายที่เป็นกลุ่มเป็นอุปสรรคในการเรียนออนไลน์ เนื้อหารายวิชาทฤษฎีเป็นการยากที่นักศึกษาจะให้ความสนใจและพร้อมที่จะตอบคำถามระหว่างเรียน แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้สืบค้นข้อมูลที่ในการเรียนออนไลน์มีจำกัด สัญญาณเครือข่ายที่นักศึกษาใช้ในการเรียนออนไลน์ไม่เสถียรในการเชื่อมต่อระหว่างเรียน การส่งผลงานปฏิบัติมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก นักศึกษามีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เพียงพอ 2. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ในภาพรวมในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.83 แนวทางการพัฒนาการการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของอาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 5 ข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ 1) มีการจัดอบรมให้ความรู้กับผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรมต่าง ๆ เช่น Google Classroom, Google Meet, Microsoft Teams, Zoom Mooc ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 4.20 2) มีระบบเครือข่ายในการเข้าถึงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายในคณะฯ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต, ระบบ WIFI, ระบบ LAN ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 4.00 3) มีช่องทางการช่วยเหลืออาจารย์กรณีเกิดปัญหาการสอนออนไลน์ ผ่านช่องทาง Line, website ค่าเฉลี่ย 3.97 4) มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เช่น คอมพิวเตอร์, กล้องสำหรับถ่ายวิดีโอ, กล้องสำหรับติดตั้งคอมพิวเตอร์ PC ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 3.83 5) สนับสนุนค่าใช้จ่ายโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น Kahoot , Quizizz , Canva , Prezi , Zoom เป็นต้น ค่าเฉลี่ย 3.15 ตามลำดับ

การศึกษาสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่
การประมาณราคาแบบละเอียดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการประมาณราคางานก่อสร้าง และต้องใช้ระยะเวลานานในการหาปริมาณวัสดุ ความถูกต้องของปริมาณวัสดุจึงมีความสาคัญในการกาหนดราคางานก่อสร้าง ดังนั้นหากมีเกณฑ์หรือเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประมาณราคางานก่อสร้างใช้งานได้ง่ายและสะดวก ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการทางานลงได้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างระบบพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่ เป็นกรณีศึกษา จากนั้นนาค่าความสัมพันธ์ด้านสัดส่วนที่ได้ไปทดสอบกับอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกัน นาค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับการประมาณราคาแบบละเอียด พบว่า ปริมาตรคอนกรีตและปริมาณเหล็กเสริมที่ได้มากกว่าค่าที่ได้จากการประมาณราคาแบบละเอียด ร้อยละ 5.86 และ 8.95 ตามลาดับ ค่าที่ได้แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 10 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นค่าสัดส่วนความสัมพันธ์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนาไปใช้ในตรวจสอบปริมาณงานเหล็กเสริมและคอนกรีตในเบื้องต้นของอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถลดระยะเวลาในการทางานลงได้

รูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการรับน้องของคณะ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มนักศึกษาที่เป็นผู้จัดกิจกรรมรับน้องไม่มีแผนประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นทางการแต่มีแผนปฏิบัติงานอย่างง่าย นอกเหนือจากกิจกรรมรับน้องปี 1 แล้วทุกสาขายังมีกิจกรรมการรับน้องปี 2 เข้าสาขาด้วย โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง (RT) เพียงสาขาเดียวที่ยังคงมีระบบ SOTUS แฝงอยู่ 2.กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องเพราะต้องการสร้างความรู้จัก ความสนิทสนมกับเพื่อนและรุ่นพี่ รวมถึงต้องการที่ปรึกษาทั้งเรื่องการเรียนและชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยเข้าใจเรื่องสิทธิส่วนบุคคลและรู้วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากกิจกรรมรับน้องที่ไม่สร้างสรรค์ รูปแบบการรับน้องที่นักศึกษาปีที่ 1 คิดว่าเหมาะสมคือ กีฬาภายในคณะ กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ไม่เครียดมาก กิจกรรมที่แทรกความรู้ด้านวิชาชีพ กิจกรรมสันทนาการ ร้องเพลง และเล่นเกม 3.กิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนกลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่รวมถึงกลุ่มบุคคลภายนอกคิดว่าควรจัดกิจกรรมสันทนาการและฐานกิจกรรม กิจกรรมวิชาชีพที่มีประโยชน์ต่อชุมชน กิจกรรมกีฬา และกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านวิชาชีพ