การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ ประการที่หนึ่ง เพื่อวิเคราะห์สภาวะความมั่นคงทางด้านการเงินและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางด้านการเงินแก่สถาบันครอบครัวของนักศึกษาอย่างมีส่วนร่วม และเพี่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเงินของครอบครัวของนักศึกษาโดยผ่านนวัตกรรมทางการเงินที่อย่างมีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed method) โดยมีการวิจิยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจานวน 10 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการปรับตัวทางการเงิน และปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคลในตัวอย่างจานวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมานโดยการทดสอบสมมติฐานและทาการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นตรงอย่างง่ายผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์สรุปได้ว่า ตัวอย่างในการศึกษามีสัดส่วนเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 31-40 ปี และมีการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระ มีสถานะสมรสส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001 – 20,000 บาท ปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระทั้งสี่ปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในแต่ละปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ตั้งแต่ 3.51 ถึง 4.50 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวแปรอิสระแต่ละคู่ พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันทุกค่าน้อยกว่า 0.8 ค่าสถิติ Tolerance มีค่าอยู่ในช่วง 0.420 ถึง 0.585ค่าสถิติ VIF มีค่าในช่วง 1.708 ถึง 2.367 ปัจจัยที่เป็นตัวแปรตามคือการปรับตัวด้านการเงิน (Y) มีค่าเฉลี่ย ( x )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 4.22 และ 0.732ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และการปรับตัวด้านการเงิน (Y) วิธีจับคู่ความแตกต่างน้อยที่สุดอย่างมีนัยสาคัญ (LSD) ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรด้านปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในแต่ละตัวแปรมีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการปรับตัวทางการเงินอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ผลการศึกษาด้านปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคลและการปรับตัวด้านการเงิน พบว่าตัวแปรอิสระทุกตัว ได้แก่ ทัศนคติต่อการบริหารเงิน (X1) ความรับผิดชอบต่อการเงินครอบครัว (X2) อิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิง (X3) และมาตรการเยียวยาด้านการเงินของภาครัฐ (X4) มีอิทธิพลในการกาหนด การปรับตัวด้านการเงิน โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.651 และค่า Std. Error of the Estimate เท่ากับ 0.435การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ 1. ภาครัฐบาลควรสร้างแนวทางเพื่อส่งเสริมการวางแผนทางการเงินโดยช่วงปกติและแผนทางการเงินสาหรับกรณีฉุกเฉิน 2. ผู้ปกครองควรพิจารณาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่มีความสาคัญเป็นลาดับแรกและมีการวางแผนทางการเงินที่รัดกุมและตั้งเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการการเงินในครัวเรือน