
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและพฤติกรรมการใช้การตลาดดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีและเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) โดยนำเสนอผลการศึกษาในรูปตารางประกอบการบรรยาย และแสดงข้อมูลทางสถิติวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน 2567ผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ ประกอบไปด้วย กรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ จำนวน 6 คน และสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ จำนวน 4 คน รวม 10 คน พบว่า เป็นเพศหญิงทั้งหมด ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย7 ปี 2) รูปแบบการใช้โซเชียลคอมเมิร์ซ พบว่า ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่หลากหลายจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 รูปแบบการตลาดแบบเดิม พบว่า ไลน์กลุ่มได้รับความนิยมในการทำการตลาดแบบเดิม และติดต่อสื่อสารกับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ มากที่สุด ร้อยละ 80 ส่วนที่ 2 ความต้องการพัฒนาการตลาดแบบใหม่ พบว่า ติกตอก ได้รับความนิยมมากที่สุด ร้อยละ 80 ส่วนที่ 3 สื่อมัลติมีเดียที่ต้องการนำเสนอตลาดเนื้อหา พบว่า สื่อภาพเป็นสื่อมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สื่อภาพ ร้อยละ 80 และส่วนที่ 4 สินค้ายอดนิยมที่ต้องการนำเสนอทุนทางวัฒนธรรม พบว่า สินค้ายอดนิยมที่ต้องการนำเสนอทุนทางวัฒนธรรมมากที่สุด คือ แหนมหมู ร้อยละ 70 3) การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้โซเชียลคอมเมิร์ซ ได้แก่ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูบ และติกตอก 4) การปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน โดยกำหนดแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในแต่ละทางเลือกโดยใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix ออกมาเป็น 2 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์เพื่อประชาสัมพันธ์ และการโฆษณาในโซเชียลคอมเมิร์ซและกลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าในโซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับวิสาหกิจชุมชนยุคดิจิทัล