งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะด้านประชากรศาสตร์, ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 5G ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างตามวิธีของ W.G. Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย,และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (T-test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง, อายุระหว่าง 20–29 ปี, สถานภาพโสด, ระดับการศึกษาปริญญาตรี, อาชีพเป็นพนักงานบริษัท/ลูกจ้างเอกชน, และระดับรายได้ 20,001–30,000 บาท มีความคิดเห็นต่อภาพรวมส่วนประสมทางการตลาดบริการอยู่ระดับมาก โดยที่ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นมากที่สุดคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และความคิดเห็นต่อภาพรวมการยอมรับเทคโนโลยี 5G ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นมากที่สุดคือด้านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศที่แตกต่างกัน มีการยอมรับเทคโนโลยี 5G ที่แตกต่างกัน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ และด้านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีการยอมรับเทคโนโลยี 5G ที่แตกต่างกันด้านการรับรู้ถึง ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ และด้านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับรายได้ที่ แตกต่างกันมีการยอมรับเทคโนโลยี 5G ที่แตกต่างกันด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และภาพรวมส่วนประสมทางการตลาดบริการ มีความสัมพันธ์กับภาพรวมการ ยอมรับเทคโนโลยี 5G ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ด้านการรับรู้ถึง ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน, การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน, ทัศนคติที่มีต่อการใช้, และพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ ที่ระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง