ภาพปกงานวิจัย ทัศนคติและพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวิอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร
เจ้าของงานวิจัย ณิชกานต์ กลับดี เขม อภิภัทรวโรดม ปรัชญา แพมงคล
หมวดหมู่ อาหาร เครื่องดื่ม และโภชนาการ
Subject พฤติกรรมผู้บริโภค
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 7

ทัศนคติ และพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ที่เคยสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโทบายแอพพลิเคชันจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test และ T-test ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 302 คน คิดเป็นร้อยละ 75.5 และมีอายุระหว่าง 21-30 ปี จำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 40 มีระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรี จำนวน 296 คน คิดเป็นร้อยละ 74 มีสถานะภาพโสด จำนวน 371 คน คิดเป็นร้อยละ 92.8 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 40.75 และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า/เท่ากับ 15,000 บาท จำนวน 201 คิดเป็นร้อยละ 50.25 ด้านทัศนคติ พบว่าโดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติที่ดีต่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่าน โมบายแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 (S.D.=0.57) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุดทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามทีทัศนคติที่ดีต่อการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นในประเด็นทำให้ประหยัดเวลาจากการเดินทาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 (S.D.=0.46) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุดรองลงมา การสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นสามารถทำให้เข้าถึงอาหารได้ในเวลาที่ต้องการ 4.55 (S.D.=0.69) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุด และการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เช่นครอบครัวที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (S.D.=0.65) ระดับความเห็นด้วยมากที่สุด ตามลำดับด้านพฤติกรรม พบว่าการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สั่งอาหารเดลิเวิรี่ผ่านแอพพลิเคชั่น Grab ประเภทอาหารที่เลือกสั่งอาหารไทย ค่าใช้จ่าย (ไม่รวมค่าจัดส่ง) โดยเฉลี่ยครั้งต่อเดือน 1-3 ครั้ง บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คือ ตนเอง สื่อที่ทำให้ทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหาร คือ สื่อสังคมออนไลน์ ระดับความสำคัญของการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P”s) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านบุคลากร ด้ายกายภาพและการนำเสนอ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด

APA

ณิชกานต์ กลับดี. เขม อภิภัทรวโรดม. ปรัชญา แพมงคล. ( 2565 ). ทัศนคติและพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวิอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ณิชกานต์ กลับดี. เขม อภิภัทรวโรดม. ปรัชญา แพมงคล. ทัศนคติและพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวิอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

ณิชกานต์ กลับดี. เขม อภิภัทรวโรดม. ปรัชญา แพมงคล. ทัศนคติและพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวิอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

ณิชกานต์ กลับดี. เขม อภิภัทรวโรดม. ปรัชญา แพมงคล. ทัศนคติและพฤติกรรมการสั่งอาหารเดลิเวิอรี่ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.