ภาพปกงานวิจัย การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ
เจ้าของงานวิจัย สุธิดา กิจจาวรเสถียร ลัดดาวัลย์ กลิ่นมาลัย วรธร ป้อมเย็น วรลักษณ์ ป้อมน้อย จิราภัทร โอทอง
หมวดหมู่ อาหาร เครื่องดื่ม และโภชนาการ
Subject อาหารเพื่อสุขภาพ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์อาหาร อินูลิน การปรุงอาหาร นมข้นหวาน
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 660

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาปริมาณอินูลินทดแทนน้ำตาลทรายที่มีผลต่อความหวานในนมข้นหวานจากข้าวโพด ผู้ชิมให้การยอมรับสูตรปริมาณอินูลินทดแทนน้ำตาลสูตรที่ 4 คือร้อยละ100 ในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ย ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 8.57 8.30 8.53 8.43 8.30 และ 8.40 ตามลำดับ พบว่า ด้านลักษณะที่ปรากฎและด้านกลิ่นไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนในด้านสี รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดมีปริมาณอินูลินในแต่ละสูตรไม่เท่ากัน ทำให้มีลักษณะของนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดแตกต่างกัน โดยอินูลินที่มีปริมาณมากกว่าจะส่งผลให้สี และรสชาติมีความแตกต่างกัน ดังนั้นสูตรที่ 4 จึงเป็นสูตรที่เหมาะสมเป็นสูตรนมข้นหวานข้าวโพดเพื่อสุขภาพและเพื่อศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพพบว่าผู้ชิมให้การยอมรับนมข้นหวานข้าวโพดในสูตรที่ 4 ผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดที่ระดับร้อยละ 100 นำมาศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคซึ่งเป็นนักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ที่ไม่ได้สังกัดสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 100 คน ด้วยวิธี Consumer Test โดยให้ทำแบบทดสอบผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำและตอบแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลเกี่ยวกับการยอมรับผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพด พบว่าด้านลักษณะปรากฎของผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดได้รับความชอบคิดเป็นร้อยละ 78 ด้านคุณลักษณะด้านสีได้รับความชอบที่ร้อยละ 68 ด้านกลิ่นมีความชอบคิดเป็นร้อยละ 93 ด้านรสชาติมีความชอบคิดเป็นร้อยละ 97 ด้านลักษณะเนื้อสัมผัส (ความข้นหนืด) มีความชอบคิดเป็นร้อยละ 79 และความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์มีความชอบคิดเป็นร้อยละ 95 จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพ พบว่านมข้นหวานข้าวโพดจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพในปริมาณ 100 กรัม มีองค์ประกอบทางเคมีของอาหารที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม 6.46 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34.4 มิลลิกรัม ไขมัน 0.81 กรัม ความข้นหนืด 724 เซนติพอยด์ วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม โปรตีน 1.10 กรัม ไม่พบคลอเลสเตอรอลซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุของการอุดตันในหลอดเลือดส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ แสดงให้เห็นว่านมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเมื่อเปรียบเทียบกับนมข้นหวานที่ทำมาจากนมผสมกับไขมันเนย หรือไขมันปาล์มทำให้มีปริมาณไขมันและนำตาลปริมาณมาก คุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียมจะต่ำกว่านมสดทำให้ควรจำกัดปริมาณรับประทาน

APA

สุธิดา กิจจาวรเสถียร. ลัดดาวัลย์ กลิ่นมาลัย. วรธร ป้อมเย็น. วรลักษณ์ ป้อมน้อย. จิราภัทร โอทอง. ( 2565 ). การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

สุธิดา กิจจาวรเสถียร. ลัดดาวัลย์ กลิ่นมาลัย. วรธร ป้อมเย็น. วรลักษณ์ ป้อมน้อย. จิราภัทร โอทอง. การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

สุธิดา กิจจาวรเสถียร. ลัดดาวัลย์ กลิ่นมาลัย. วรธร ป้อมเย็น. วรลักษณ์ ป้อมน้อย. จิราภัทร โอทอง. การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

สุธิดา กิจจาวรเสถียร. ลัดดาวัลย์ กลิ่นมาลัย. วรธร ป้อมเย็น. วรลักษณ์ ป้อมน้อย. จิราภัทร โอทอง. การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.