ภาพปกงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ
เจ้าของงานวิจัย วิไล สุทธิจิตรทิวา ชนัญชิดา สุจิตจูล เชาวลิต อุปฐาก ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล รุ่งฤทัย รำพึงจิต
หมวดหมู่ อาหาร เครื่องดื่ม และโภชนาการ
Subject ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารไทย ของหวาน การปรุงอาหาร กัญชา คุณค่าอาหาร การปรุงอาหาร (กัญชา)
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 411

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อสำรวจความต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทย จากกัญชา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทยจากกัญชา และเพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย และขนมไทยที่มีส่วนผสมของกัญชา ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยจากกัญชา ผลการสำรวจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย ได้แก่ อันดับที่ 1 แกงพะแนง มีค่าเฉลี่ย 4.57 อันดับที่ 2 แกงส้ม มีค่าเฉลี่ย 4.30 และขนมไทย ได้แก่ อันดับที่ 3 วุ้น มีค่าเฉลี่ย 4.20 อันดับที่ 4 ทองหยิบ มีค่าเฉลี่ย 4.13 และอันดับที่ 5 ปุ้ยฝ้าย ค่าเฉลี่ย 4.07 ตามลำดับ ผลการศึกษาปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยเมื่อนำไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสผู้ทดสอบชิมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย ดังนี้ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ให้การยอมรับการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 7.84 7.95 7.90 8.13 8.05 และ 8.08 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้ม ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.15 7.96 8.00 8.10 7.83 และ 8.19 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์วุ้น ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.10 8.20 7.95 8.03 และ 8.23 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ทองหยิบ ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.38 8.23 8.18 8.48 8.19และ 8.45 ตามลำดับ และปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ปุยฝ้าย ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.05 7.95 8.03 7.98 และ 8.10 ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า ในด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี และคุณภาพทางกายภาพการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ในการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ทั้ง 5 รายการ สามารถเสริมได้ แต่ควรคำนึงถึงองค์ประกอบทางเคมีของส่วนประกอบเริ่มต้น เช่น ปริมาณความชื้น และไขมัน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ อาจมีผลกระทบต่อคุณลักษณะทางกายภาพ เช่น กลิ่น และลักษณะเนื้อสัมผัส ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้มีผลกระทบต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์

APA

วิไล สุทธิจิตรทิวา. ชนัญชิดา สุจิตจูล. เชาวลิต อุปฐาก. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. รุ่งฤทัย รำพึงจิต. ( 2565 ). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

วิไล สุทธิจิตรทิวา. ชนัญชิดา สุจิตจูล. เชาวลิต อุปฐาก. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. รุ่งฤทัย รำพึงจิต. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

วิไล สุทธิจิตรทิวา. ชนัญชิดา สุจิตจูล. เชาวลิต อุปฐาก. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. รุ่งฤทัย รำพึงจิต. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

วิไล สุทธิจิตรทิวา. ชนัญชิดา สุจิตจูล. เชาวลิต อุปฐาก. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. รุ่งฤทัย รำพึงจิต. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.