การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของคุกกี้แป้งมะพร้าว 2) ศึกษาปริมาณแป้งกล้วยน้ำว้าสำหรับเสริมในผลิตภัณฑ์คุกกี้แป้งมะพร้าว 3) ศึกษาผลของการใช้ไอโซมอลท์เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางส่วนในคุกกี้แป้งมะพร้าวผสมแป้งกล้วยน้ำว้า 4) ศึกษาลักษณะทางเคมีและกายภาพของคุกกี้แป้งมะพร้าวผสมแป้งกล้วยน้ำว้า และ5) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคุกกี้แป้งมะพร้าวผสมแป้งกล้วยน้ำว้า ประเมินผลจากการทดสอบความชอบ โดยผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัส ผลการศึกษาพบว่าสูตรพื้นฐานคุกกี้แป้งมะพร้าว สูตรที่ 2 ปริมาณแป้งกล้วยน้ำว้าร้อยละ 20 เหมาะสมสำหรับทดแทนแป้งมะพร้าวในสูตรคุกกี้แป้งมะพร้าวเพื่อช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัสของคุกกี้ให้ รับประทานง่ายขึ้น การใช้ไอโซมอลท์เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลร้อยละ 20 เหมาะสมสำหรับคุกกี้แป้งมะพร้าวผสมแป้งกล้วยน้ำว้า โดยคุกกี้แป้งมะพร้าวผสมแป้งกล้วยน้ำว้าที่ใช้ไอโซมอลท์ทดแทนน้ำตาลในปริมาณมากขึ้นส่งผลให้ส่วนผสมของคุกกี้เหลว มีการแผ่ขนาดของชิ้นกว้างขึ้นและบางลง และมีสีอ่อนลง ค่าสีของคุกกี้มีค่า L* (ความสว่าง) 65.86±1.42 a* (สีแดง) 9.47 ± 0.87 และb* (สีเหลือง) 24.83±0.50 ค่ากิจกรรมของน้ำ (aw) เท่ากับ 0.28 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากสูตรที่ใช้ น้ำตาลซึ่งมีค่า aw 0.35 คุณค่าทางโภชนาการของคุกกี้แป้งมะพร้าวผสมแป้งกล้วยน้ำว้าและใช้ไอโซ มอลท์ทดแทนน้ำตาลร้อยละ 20 ให้พลังงานทั้งหมด 5.58 กิโลแคลลอรี/กรัม มีปริมาณเถ้าร้อยละ 2.72 ไขมันร้อยละ 38.18 ความชื้นร้อยละ 2.96 โปรตีนร้อยละ 6.65 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 49.49 ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับคุกกี้แป้งมะพร้าวสูตรพื้นฐาน