ภาพปกงานวิจัย การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร  ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่
เจ้าของวิทยานิพนธ์ วรรณกร อุ่นวิเศษ
หมวดหมู่ การออกแบบ
Subject การออกแบบเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้า เสื้อผ้าสตรี สีย้อมและการย้อมสี
ปีที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 423

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ เครื่องมือ ที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบร่างการออกแบบชุด 3 กลุ่มที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอีโมจิ 3 อันดับแรกที่ถูกใช้มากที่สุดในปี 2021 คือ อีโมจิหัวเราะทั้งน้ำตา อีโมจิหัวใจ และอีโมจิไฟลุก โดยอ้างอิงโครงชุดจากกระแสแฟชั่น Y2K ซึ่งเป็นแนวโน้มกระแสแฟชั่นของฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนปี 2022 2) ต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุดจริง 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชุดลำลองสตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ ได้แก่ Designer, Merchandiser, Visual Merchandiser และ Graphic Designer ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีดำเนินการ คือ ร่างแบบชุดลำลอง 3 กลุ่มแล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกเพียง 1 กลุ่ม สำหรับตัดเย็บจริงแล้วนำไปสอบถามความ พึงพอใจกับกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษา พบว่า แบบร่างการออกแบบชุดลำลองที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจาก ผู้เชี่ยวชาญคือ ชุดลำลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอีโมจิไฟลุก ซึ่งเป็นชุดที่มีความทันสมัย มีลูกเล่นที่ น่าสนใจ ตลอดจนวิธีการวางองค์ประกอบของลวดลาย ทำได้เรียบง่าย สะอาดตา จึงทำให้เสื้อผ้าน่า สวมใส่ ไม่ดูมากหรือน้อยเกินไป สามารถนำมา mixed & matched ได้เหมาะสม กลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งหมด 30 คน พบว่า มีเพศหญิง 15 คน และเพศชาย 15 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36 - 40 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ Designer รายได้ระหว่าง 35,001 – 45,000 บาท และมี การศึกษาระดับปริญญาตรี ผลความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ ในด้านรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านสี อยู่ในระดับ มากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านลวดลาย อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในด้านวิธีการ แอพพลิเค่ อยู่ในระดับมากที่สุด

APA

วรรณกร อุ่นวิเศษ. ( 2565 ). การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

วรรณกร อุ่นวิเศษ. การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

วรรณกร อุ่นวิเศษ. การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

วรรณกร อุ่นวิเศษ. การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.