ภาพปกงานวิจัย การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหล
เจ้าของวิทยานิพนธ์ ปริญ ศรีแสง
หมวดหมู่ เทคโนโลยี
Subject พลศาสตร์ของไหล อากาศพลศาสตร์ อนุภาค
ปีที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 72

ระบบกระแสชนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการอบแห้งวัสดุอนุภาคที่มีความชื้นที่ผิวสูงโดยการศึกษาในส่วนแรกของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาทดลองค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของวัสดุอนุภาค ในการทดลองใช้เม็ดเรซินเป็นวัสดุทดลองซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.4 มิลลิเมตร โดยทำการศึกษาผลของตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาค ได้แก่ อัตราการป้อนวัสดุ ที่ 50 60 และ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงความเร็วอากาศขาเข้าที่ 20 25 และ 30 มิลลิเมตรต่อวินาที และมุมของท่ออากาศขาเข้าที่ 0 5 และ 10 องศา จากการทดลองพบว่า เมื่ออัตราการป้อนวัสดุ ความเร็วอากาศขาเข้าและมุมของท่ออากาศขาเข้าเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาคมีค่าเพิ่มขึ้น ในส่วนสุดท้ายของงานวิจัยนี้เป็นการจำลองพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ จากการศึกษาพบว่าการจำลองให้ผลการทำนายใกล้เคียงกับผลการทดลอง เมื่อความสูงของห้องกระแสชนและขนาดของวัสดุอนุภาคเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาคมีค่าเพิ่มขึ้น โดยค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาคในระบบมีค่ามากที่สุดที่ 1.93 วินาที ที่อัตราการป้อนวัสดุ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วอากาศขาเข้าที่ 30 มิลลิเมตรต่อวินาที และมุมของท่ออากาศขาเข้าที่ 10 องศา

APA

ปริญ ศรีแสง. ( 2565 ). การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ปริญ ศรีแสง. การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

ปริญ ศรีแสง. การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

ปริญ ศรีแสง. การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.