วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำลองการอบแห้งข้าวเปลือกในระบบอบแห้งกระแสชนแบบวิถีโค้ง ทั้งนี้อาศัยวิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ ซึ่งแบบจำลองใช้ทำนายผลกระทบของตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ความเร็วของอากาศขาเข้า 20 และ 25 m/s อุณหภูมิของอากาศขาเข้า 7090 และ 110 °C อัตราการป้อนของข้าวเปลือก 20 35 และ56 kgdry solid/h และขนาดของห้องอบแห้ง50 ลิตร ที่ส่งผลต่อความชื้นสุดท้ายของข้าวเปลือก อัตราการระเหยน้ำเชิงปริมาตร สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตร และมีการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของผลกระทบจากขนาดของห้องอบแห้งที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า แบบจำลองสามารถให้ผลการทำนายค่าความชื้นสุดท้าย อัตราการระเหยน้ำเชิงปริมาตร และสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตรใกล้เคียงกับผลการทดลองที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±10% ขณะที่ขนาดห้องอบแห้งที่ลดลงส่งผลให้อัตราการระเหยน้ำ และสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตรมีค่าเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราการระเหยน้ำเชิงปริมาตรสูงสุดมีค่าเท่ากับ 62.72 kgwater/m3h ที่ความเร็วอากาศขาเข้า 25 m/s อุณหภูมิของอากาศขาเข้า 110 ºCและอัตราการป้อนของวัสดุ 56 kgdry solid/h และขนาดห้องอบแห้ง 50 ลิตร ขณะที่สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตรสูงสุด มีค่าเท่ากับ 112.63 W/m3K ที่ความเร็วอากาศขาเข้า 25 m/sอุณหภูมิของอากาศขาเข้า 110 ºC อัตราการป้อนของวัสดุ 56 kgdry solid/h และขนาดห้องอบแห้ง 50 ลิตร