ภาพปกงานวิจัย การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง
เจ้าของวิทยานิพนธ์ เพียงใจ คงพันธ์
หมวดหมู่ การจัดการ
Subject อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภูมิปัญญาชาวบ้าน การท่องเที่ยวโดยชุมชน
ปีที่ตีพิมพ์ 2565
จำนวนเข้าชม 78

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง และ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ขั้นตอน คือ 1) EDFR รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-DepthInterview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 19 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาสังเคราะห์ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง 2) EDFR รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดิม ให้พิจารณาคำตอบและยืนยันความสอดคล้องของข้อมูลหาฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง มากำหนดแนวโน้มในอนาคตของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) คุณสมบัติในเชิงพื้นที่ คือ 1.1) ชุมชนมีความหลากหลายและโดดเด่นทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ 1.2) ชุมชนมีความตระหนักรู้ในคุณค่าของชุมชนโดยเจ้าของวัฒนธรรม 2) คุณสมบัติในเชิงกระบวนการ คือ 2.1) นักท่องเที่ยวกับชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 2.2) นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม2.3) นักท่องเที่ยวเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพื้นที่ท่องเที่ยว 2.4) ไม่ทำลายคุณค่าของชุมชนแต่กลับนำไปสู่ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม 2. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ 1.1) ด้านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแผนงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ต้องอาศัยความพร้อมและความเข้มแข็งของสมาชิกในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ขับเคลื่อนแผนงาน 1.2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต โดยสิ่งสำคัญต้องให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนทั้งระบบ 1.3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สืบทอดอย่างยาวนานรุ่นต่อรุ่นจากคนในท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ต้องอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป 1.4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม จะยังเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เมื่อชุมชนนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์มีนักท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในชุมชน 1.5) ด้านการบริการและความปลอดภัย ยังคงต้องได้รับการพัฒนาและแก้ปัญหา ทั้งส่วนของการให้ความรู้ การเพิ่มจำนวนบุคลากร อาสาสมัคร อุปกรณ์ที่จำเป็นด้านความ ปลอดภัยและสุขภาพ 2) การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือ 2.1) ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ต้องมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มแข็ง พยายามพัฒนาพื้นที่ สินค้า บริการและกิจกรรมท่องเที่ยว ให้มีความสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว 2.2) การตลาดเชิงสร้างสรรค์ ยังต้องพัฒนาการตลาด สินค้า บริการ และกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 2.3) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์จากการเดินทางท่องเที่ยว มีความหลากหลาย การพัฒนายกระดับความสามารถของชุมชนให้มีสินค้าบริการ และกิจกรรมท่องเที่ยว นำเสนอออกมาในรูปแบบที่สร้างสรรค์ จะดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว โดยอาศัยนวัตกรรมสร้างสรรค์

APA

เพียงใจ คงพันธ์. ( 2565 ). การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

เพียงใจ คงพันธ์. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง. พัทลุง: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

เพียงใจ คงพันธ์. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

เพียงใจ คงพันธ์. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.