ภาพปกงานวิจัย ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย
เจ้าของวิทยานิพนธ์ มันทนา รังษีกุล
หมวดหมู่ บริหารธรุกิจ
Subject ผู้สูงอายุ การตลาด อุตสาหกรรมบริการ
ปีที่ตีพิมพ์ 2565
จำนวนเข้าชม 441

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด และการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จานวน 460 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การนับจานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์แบบจาลองสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่า การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า รูปแบบปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย มีความกลมกลืนกันกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 44.596 df = 62 p = 0.953 RMSEA = 0.000 CFI = 1.000 CMIN/DF = 0.719) โดยปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด ทั้ง 23 ตัวแปร มีค่าน้าหนักองค์ประกอบเป็นบวก โดยมี ค่าระหว่าง 0.616-0.826 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โมเดลจาลองสมการเชิงโครงสร้างมีความกลมกลืนอย่างเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 157.445 df = 166 p = 0.670 RMSEA = 0.000 CFI = 1.000 CMIN/DF = 0.948) และความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ 1) การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 2) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 3) การมุ่งเน้นการตลาดส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 4) การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 5) การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ในประเทศไทย 6) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ในประเทศไทย 7) การมุ่งเน้นการตลาดส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 8) การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย และ 9) การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดส่งผลทางตรงต่อ การตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

APA

มันทนา รังษีกุล. ( 2565 ). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

มันทนา รังษีกุล. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

มันทนา รังษีกุล. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

มันทนา รังษีกุล. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.