ภาพปกงานวิจัย ความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินหลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เจ้าของวิทยานิพนธ์ พิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย
หมวดหมู่ บริหารธรุกิจ
Subject ตลาดหลักทรัพย์ การลงทุน การเงิน ความเสี่ยงทางการเงิน ผู้สอบบัญชี
ปีที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 24

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัววัดทางบัญชีแบบดั้งเดิม อิทธิพลร่วมของข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเงินกับตัววัดทางบัญชีแบบดั้งเดิม สินทรัพย์ไม่มีตัวตน และปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีต่อมูลค่าหลักทรัพย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีข้อมูลครบถ้วน จำนวน 269 บริษัท ระยะเวลา 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2565 ช่วงเวลาดังกล่าวครอบคลุมทั้งก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอยพหุคูณแบบ Fixed Effects ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัววัดทางบัญชีแบบดั้งเดิมทั้ง 3 ตัวคือ กำไรต่อหุ้น มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น และกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานต่อหุ้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่าหลักทรัพย์ ในภาพรวมกำไรต่อหุ้นมีความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์สูงสุด อย่างไรก็ตามในระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้งในบางสมการทดสอบพบว่ามูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นมีความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์สูงกว่าตัววัดทางบัญชีแบบดั้งเดิมตัวอื่น (2) ระดับคุณภาพการกำกับดูแลกิจการช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องของกำไรต่อหุ้นและมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นทั้งการทดสอบด้วยราคาปิดของหลักทรัพย์เดือนมีนาคมและเดือนเมษายน โดยอิทธิพลร่วมกับกำไรต่อหุ้นสูงกว่าอิทธิพลร่วมกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (3) รางวัลด้านความยั่งยืนไม่ช่วยเพิ่ม ความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ที่ทดสอบด้วยช่วงเวลารวม แต่ช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องของกำไรต่อหุ้นเฉพาะช่วงเวลาก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 เท่านั้น (4) รายงานเชิงบูรณาการไม่ได้ช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าสินทรัพย์ในทุกช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ รวมทั้งการทดสอบด้วยราคาปิดของหลักทรัพย์เดือนเมษายน (5) ประเภทหรือขนาดของสำนักงานสอบบัญชีไม่ช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ที่ทดสอบด้วยช่วงเวลารวม แต่ช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ในระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19 เท่านั้น ส่วนความเห็นของผู้สอบบัญชีไม่ช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ที่ทดสอบด้วยช่วงเวลารวมทั้งกรณีใช้ราคาปิดของหลักทรัพย์เดือนมีนาคมและเมษายน แต่ช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ในระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19 เท่านั้น (6) สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่อหุ้นไม่มีความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ในทุกช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ รวมทั้งการทดสอบด้วยราคาปิดของหลักทรัพย์เดือนมีนาคมและเมษายน (7) ตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าหลักทรัพย์คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยมีอิทธิพลเชิงลบ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคมีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่าหลักทรัพย์ สำหรับตัวแปรควบคุมคือ ขนาดของกิจการมีอิทธิพลเชิงลบต่อมูลค่าหลักทรัพย์ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของCOVID-19 เท่านั้น

APA

พิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย. ( 2566 ). ความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินหลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

พิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย. ความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินหลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

พิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย. ความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินหลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

พิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย. ความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินหลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.