ภาพปกงานวิจัย การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
เจ้าของวิทยานิพนธ์ นรินทร์ ลาภอนันต์
หมวดหมู่ ศิลปประดิษฐ์ ตกแต่ง
Subject คหกรรมศาสตร์ การประดิษฐ์ด้วยดอกไม้ มาลัย สื่อการสอน
ปีที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 425

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การสร้างสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้าน คหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะ กับด้านกลยุทธ์การสื่อสารในการพัฒนาสื่ออินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยและ 3) พัฒนารูปแบบสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดตามช่องยูทูปด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย จำนวน 14 เพจ ซึ่งมีผู้ติดตามตั้งแต่ 1.58 หมื่นคน ถึง 2.54 แสนคน และเคยเข้ารับชมสื่อออนไลน์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่ม ของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ระดับความ คลาดเคลื่อน ± ร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญด้วยความสมัครใจเพื่อให้ได้ตรงตามจำนวนที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาสภาพการณ์การสร้างสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา รายได้ 20,001-30,000 บาท สถานภาพโสด เลือกชมสื่องานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยผ่านช่องทางยูทูป เรื่องมาลัยสองชาย ดูผ่านสื่อออนไลน์น้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และปัจจัยที่เลือกชมงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยคือ ด้านการสร้างสรรค์ สำหรับระดับความสำคัญด้านคุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความเคารพ ด้านความไว้วางใจ ด้านความดึงดูดใจ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนระดับความสำคัญด้านกลยุทธ์การสื่อสารของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมาก ไปน้อย คือ ด้านการปฏิสัมพันธ์ ด้านประโยชน์ ด้านเนื้อหา ด้านการสร้างสรรค์ และด้านความ เฉพาะเจาะจง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์กับ กลยุทธ์การสื่อสารด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า มีตัวแปรทำนาย 5 ตัว คือ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความไว้วางใจ ด้านความดึงดูดใจ ด้านความเคารพ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์ในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีอำนาจทำนายประมาณ ร้อยละ 42.60 และผลการพัฒนารูปแบบสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างสื่อประเภทยูทูปด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยประเภท ดอกไม้สด เรื่อง การประดิษฐ์มาลัยร้อยรัก โดยใช้เทคนิคการบรรยายด้วยภาพ ความยาว 8 นาที โดย นำไปเผยแพร่ในช่องทาง ยูทูป 3 เพจ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ มีผู้รับชมรวม 294 คน กดถูกใจ like รวม 125 คน กดติดตาม รวม 93 คน และให้คำแนะนำหรือมีข้อคำถาม รวม 1 คน

APA

นรินทร์ ลาภอนันต์. ( 2566 ). การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

นรินทร์ ลาภอนันต์. การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

นรินทร์ ลาภอนันต์. การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

นรินทร์ ลาภอนันต์. การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.