ภาพปกงานวิจัย การพัฒนาสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็ก จากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ
เจ้าของวิทยานิพนธ์ ณัฎฐพร จันทศรี
หมวดหมู่ ศิลปประดิษฐ์ ตกแต่ง
Subject สื่อการสอน เครื่องแขวน ลูกปัดในศิลปกรรม
ปีที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 416

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)หาประสิทธิภาพของสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็กจากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน ราชบพิธ 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็กจากลูกปัด สำหรับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็กจากลูกปัด สำหรับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 วิชางานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนราชบพิธ จำนวน 24 คน โดยใช้ สื่อการสอน แบบทดสอบภาคปฏิบัติแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของสื่อการสอนและแบบสอบถามความพึงพอใจเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าE1/E2 ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อการสอนมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยผล การประเมินระหว่างเรียนที่ประเมินโดยผู้สอน (E1) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.21 และผลการประเมิน หลังเรียนโดยผู้สอน (E2) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.17 สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของสื่อการสอนเป็นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 จึงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธได้ 2) การประเมินความเหมาะสมของสื่อการสอนโดยรวม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.27, σ = 0.655) และมีความ เป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.40, σ = 0.575) และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ ในระดับมาก (X̅ 4.41, S.D. = 0.768) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเนื้อหา (X̅= 4.51, S.D. = 0.624) รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อ การสอน ( X̅= 4.43, S.D. = 0.822) และน้อยที่สุดคือ ด้านสื่อการสอน (X̅= 4.31, S.D. = 0.876) สรุปได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

APA

ณัฎฐพร จันทศรี. ( 2566 ). การพัฒนาสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็ก จากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ณัฎฐพร จันทศรี. การพัฒนาสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็ก จากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

ณัฎฐพร จันทศรี. การพัฒนาสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็ก จากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

ณัฎฐพร จันทศรี. การพัฒนาสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็ก จากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.