ภาพปกงานวิจัย การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ
เจ้าของวิทยานิพนธ์ เกชา ลาวงษา
หมวดหมู่ การออกแบบ อุตสาหกรรมสิ่งทอ การออกแบบแฟชั่น
Subject ผ้า เสื้อผ้าบุรุษ การออกแบบเครื่องแต่งกาย
ปีที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 402

การวิจัยเรื่อง การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนเพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติที่เหมาะสมของเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน 2) ออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่จากเส้นด้ายผสมเส้นใยไหม กับเส้นใยฟิลาเจน 3) วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของผืนผ้าผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน 4) ออกแบบเสื้อผ้าบุรุษจากผ้ามัดหมี่เส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนและ 5) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สาหรับเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวล ด้วยวิธีการตัดต่อ โดยการศึกษาสมบัติที่เหมาะสมของเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนเพื่อออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ โดยใช้แนวคิดจากศิลปะอิสลาม จำนวน 3 ลวดลาย คัดเลือก 1 ลวดลาย นำไปมัดลวดลายและทอเป็นผืนผ้า วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของผืนผ้า นำมาตัดเย็บ เสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อ 1 คอลเลคชั่น และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่ม ตัวอย่าง คือ Designer, Merchandiser, Visual merchandiser, Graphic designer, และผู้มีประสบการณ์ด้านการทอผ้าที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน ด้วยการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบสมบัติการเปรียบเทียบของเส้นด้ายทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ทดสอบความแข็งแรงของเส้นด้าย ด้านแรงดึงขาด ด้านการยืดตัวขณะขาด และด้านขนาดเส้นด้ายพบว่า อัตราส่วนที่ 1 ร้อยละ 70:30 เมื่อนำไปดำเนินการทดสอบความแข็งแรงของเส้นด้าย ด้านแรง ดึงขาดอยู่ที่ 14.97 นิวตัน ด้านการยืดตัวขณะขาดอยู่ที่ ร้อยละ 11.12 และทดสอบด้านขนาดเส้นด้าย อยู่ที่ 574.7 ดีเนียร์ จัดอยู่ในกลุ่มของเส้นด้ายขนาดใหญ่ (Heavy type) มีความเหมาะสมที่จะนาไปทำการพัฒนาเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนต้นแบบ มากที่สุด ด้านการออกแบบ ลวดลายผ้ามัดหมี่ โดยใช้แรงบันดาลใจจากศิลปะอิสลาม (Islamic Art) จำนวน 3 ลวดลาย พบว่าลวดลายที่ 3 ได้รับความพึงพอใจ มากที่สุด เนื่องจากลวดลายที่ออกแบบมีความสวยงามเหมาะสมสัมพันธ์กับแรงบันดาลใจที่นำมาออกแบบและมีความละเอียดขององค์ประกอบลวดลายที่สะท้อนให้ เห็นถึงอัตลักษณ์ความเป็นศิลปะอิสลาม จึงมีความเหมาะสมในการนำมาทอเป็นลวดลายผ้ามัดหมี่การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ด้านน้ำหนักผ้า (Fabric Weight) พบว่า ด้านน้ำหนักผ้า อยู่ที่ 96 กรัมต่อตารางเมตร ด้านจำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาว (Threads per Unit Length) พบว่า จำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาวเส้นด้ายยืน อยู่ที่ 85 เส้นต่อนิ้ว และเส้นด้ายพุ่ง อยู่ที่ 56 เส้นต่อนิ้ว ด้านความหนาของผืนผ้า อยู่ที่ 0.24 มิลลิเมตร ด้านการขจัดกลิ่นอับกลิ่นเหงื่อ (Deodorization) พบว่า มีอัตราการลดกลิ่นอับกลิ่นเหงื่ออยู่ที่ ร้อยละ 78.42 ด้านการถ่ายเทอุณหภูมิ (Q-Max) พบว่า ผลอยู่ที่ 0.16 w/cm2 - 0.17 w/cm2 ผ้ามีสมบัติทางกายภาพด้านการถ่ายเทอุณหภูมิ (Q-Max) อยู่ในระดับมาตรฐาน ด้านป้องกันแสงแดด (UV Protection) ทั้งสภาวะแห้งและสภาวะเปียก มีระดับ ค่า UPF อยู่ที่ 25 อยู่ในระดับดีมาก มีผลการป้องกันแสงยูวีอยู่ที่ ร้อยละ 96.0 - ร้อยละ 97.5 เหมาะ กับการอยู่กลางแดด 1 ชั่วโมง – 4 ชั่วโมง ด้านการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษ ผลการคัดเลือกรูปแบบ เสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อ พบว่า รูปแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วย วิธีการตัดต่อ คอลเลคชั่นที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากตอบโจทย์คาว่าเมโทรเซ็กชวลในแง่ ของเส้นแบบตัดการตัดต่อ วัสดุ และรูปแบบที่ให้ภาพรวมของเมโทรเซ็กชวลชัดเจน ขึ้น มีความสวยงามและมีความทันสมัย สอดคล้องกับแนวโน้มแฟชั่นและแรงบันดาลใจ สามารถสวมใส่ได้จริงด้านการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อผ้ามัดหมี่โดยรวม มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (𝑥̅ = 4.94) และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อพบว่า ความพึงพอใจด้านรูปแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวล ด้านความสวยงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านสี และด้านวิธีการตัดต่อลวดลาย โดยรวมทุกรูปแบบมีความ พึงพอใจในระดับ มากที่สุด (𝑥̅ = 4.88)

APA

เกชา ลาวงษา. ( 2566 ). การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

เกชา ลาวงษา. การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

เกชา ลาวงษา. การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

เกชา ลาวงษา. การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.