
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยการผลิต 4M กรณีศึกษา บริบทเครนคานเดี่ยว บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัดกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้แผนภูมิกระบวนการไหล (Process Flow Charts) 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว จากพนักงานแผนกการผลิตที่บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จำนวน 12 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ 3) เพื่อปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้หลักการ PDCA ประชากร คือ พนักงานที่บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานแผนกการผลิตที่บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จำนวน 12 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item Objective Congruence : IOC ) ระหว่างนิยามศัพท์กับข้อคำถามตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว มีขั้นตอนการผลิตทั้งหมด 36 ขั้นตอน และใช้เวลาในกระบวนการผลิต 2,080 นาที หรือ 34 ชั่วโมง 40 นาที ในการผลิตเครนคานเดี่ยว 2) ผลการศึกษาสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว พบว่า ภาพรวมสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.69, . . S D =1.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเครื่องจักร (Machine) อยู่ในระดับมาก ( X =3.66, . . S D =0.75) ด้านคน (Man) อยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.72, . . S D =0.87) ด้านวัสดุ (Material) อยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.64, S.D.=1.11) และด้านวิธีการ (Method) อยู่ในระดับน้อย ( X =1.91, S.D.=0.65) และ 3) ผลการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้หลักการ PDCA พบว่า จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เกิดความต่อเนื่องในการผลิต เพื่อลดเวลาการว่างงาน และรอคอยให้น้อยลง กระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยวของบริษัทเค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กรณีศึกษา มีขั้นตอนการผลิตก่อนปรับปรุง 36 ขั้นตอน ลดลงเหลือ 26 ขั้นตอน ซึ่งคิดเป็น 27.78% ซึ่งส่งผลให้เวลาในกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยวก่อนปรับปรุง 2,080 นาที หรือ 34 ชั่วโมง 40 นาที ลดลงเหลือ 1,970 นาที หรือ 32 ชั่วโมง 50 นาที ซึ่งคิดเป็น 5.29% สามารถลดต้นทุนแรงงานได้ต่อปีประมาณ 605,022 บาทต่อปี