จำนวนการค้นคว้าอิสระ ( 2 )
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด-19
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อบริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อบริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนในกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า 1) ความแตกต่างทางด้านลักษณะประชากรศาสตร์พบว่ามีความแตกต่างทางนัยสำคัญตั้งแต่ สถานภาพ และ ระดับการศึกษา ที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 ในเขตกรุงเทพมหานครในลักษณะปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านประชากรศาสตร์ 2) การรับรู้ต่อบริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสด ในด้านความแตกต่างของช่องทางการรับรู้ข่าวสาร ความแตกต่างของรูปแบบสังคมไร้เงินสด และความแตกต่างของสถานที่ที่ใช้ในรูปแบบสังคมไร้เงินสด ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 อย่างมีนัยสำคัญ 3) ความพึงพอใจต่อบริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสด(6Ps) ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 อย่างมีนัยสำคัญ จากการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่าความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อบริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสด (6Ps) ที่แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในรูปแบบสังคมไร้เงินสดในช่วงสถานการณ์โควิด -19 แตกต่างกัน ทางด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการให้บริการแบบเจาะจงและด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ร้อยละ 67.7 (R square = 0.677)
ประสิทธิภาพของข้อมูลบัญชีบริหารและสารสนเทศทางบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพของข้อมูลบัญชีบริหารและสารสนเทศทางบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร หรือผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีของบริษัท จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 134 บริษัท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพของข้อมูลบัญชีบริหารมีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01สารสนเทศทางการบัญชีบริหารมีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01