จำนวนบทความ ( 2 )

แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สำหรับผู้สูงอายุจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
โครงการแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สำหรับผู้สูงอายุจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อผู้สูงอายุและสร้างต้นแบบ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาใช้ประกอบแนวความคิดในการวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาโดยใช้หลักแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ การเลือกใช้วัสดุวิธีการให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบตามความคิดสร้างสรรค์โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) สำรวจพื้นที่ กลุ่มชุมชนจักสาน(2) ศึกษาวิธีการเตรียมเส้นใยที่เหมาะสมเพื่อเป็นวัสดุงานจักสาน (3) ออกแบบและสร้างต้นแบบชุดเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะกับผู้สูงอายุ วิธีการดำเนินการแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้งานของผู้สูงอายุความพึงพอใจของผู้สูงอายุ แนวทางการวิเคราะห์จากการใช้งานเน้นความสะดวกสบาย ผ่อนคลายการพักผ่อน ความทันสมัย มีความเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและการใช้งานวัสดุสรุปผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สำหรับผู้สูงอายุจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (1) รูปแบบความสวยงาม (2) ความคงทนในการใช้งาน (3) ขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้งาน (4) การใช้วัสดุส่งเสริมอาชีพสู่ชุมชนในท้องถิ่น ผู้ประเมินมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดตามลำดับ

การศึกษาและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหารพร้อมรับประทานเพื่อสังคมผู้สูงอายุ
การศึกษาและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหารพร้อมรับประทานเพื่อสังคมผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและออกแบบบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหารพร้อมรับประทานสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยได้ดำเนินการศึกษาการใช้งานภาชนะบรรจุอาหารสำหรับผู้สูงอายุจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน เป็นผู้สูงอายุช่วงอายุระหว่าง 60 – 79 ปี เพื่อค้นหาปัญหาและพฤติกรรมการใช้งาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ 3 ส่วน ดังนี้(1) ผลจากการศึกษาพบว่าปัญหาการใช้งานภาชนะบรรจุอาหารของผู้สูงอายุคือรูปทรงและขนาดของภาชนะที่ยังไม่สอดคล้องกับศักยภาพด้านร่างกาย พฤติกรรมการใช้งาน และภาชนะที่ใช้ไม่รองรับกับปริมาณอาหาร (2) ผลจากการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนา จำนวน 3 ท่าน พบว่า บรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหาร รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมของรูปทรงของภาชนะบรรจุอาหาร วัสดุที่ใช้ในการผลิต การใช้งานภาชนะและความสะดวกสบายอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 3.95 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.46 (3) ผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ผลการประเมินความพึงพอใจในรายด้านพบว่า ด้านความสะดวกสบาย อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ0.41 ด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.79 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.38ด้านวัสดุ อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.40