จำนวนบทความ ( 2 )

การศึกษาและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อหาความพึงพอใจของกระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยจึงศึกษาข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ และได้ทำการออกแบบและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม โดยนำกระบวนการขึ้นรูปมาช่วยในการออกแบบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทูยังคงรูปทรงลวดลายให้มีเอกลักษณ์ ให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุโดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น โดยกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคือกลุ่มที่มีความชื่นชอบในงานจักสานช่วงอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 50 คน และขั้นตอนที่สอง คือแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม จากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุ ตั้งแต่ 27-37 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาหาแนวทางในการออกแบบและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดทำแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการใช้งาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 50 คน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 76.00 มีโอกาสในการใช้งานกระเป๋าในชีวิตประจำวันทั่วไปมากที่สุด ประเภทของกระเป๋ามี 3 ประเภท ที่ได้รับความนิยมจากการทำแบบสอบถามมากที่สุดคือ กระเป๋าสะพายข้าง (Crossbody Bag) คิดเป็นร้อยละ 25.21 กระเป๋าคล้องไหล่ (Shoulder Bag) คิดเป็น ร้อยละ 22.69 กระเป๋าคล้องมือ (Wrist Bag) คิดเป็นร้อยละ 21.85 ในด้านความเห็นด้านการออกแบบมีความต้องการเน้นไปทางด้านดีไซน์เป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 27.27 และการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม จากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ข้อมูลสถิติดังนี้ มากที่สุดคือด้านความสวยงามของลวดลาย (x ̅= 4.53, S.D. = 0.50) รองลงมาคือด้านความสวยงามของรูปทรง (x ̅ = 4.47, S.D. = 0.62) ด้านความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ (x ̅= 4.47, S.D. = 0.56) ด้านความแข็งแรง/ทนทาน (x ̅ = 4.43, S.D. = 0.56) และด้านประโยชน์ใช้สอย (x ̅= 4.40, S.D. = 0.80)

การศึกษาและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหารพร้อมรับประทานเพื่อสังคมผู้สูงอายุ
การศึกษาและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหารพร้อมรับประทานเพื่อสังคมผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและออกแบบบรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหารพร้อมรับประทานสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยได้ดำเนินการศึกษาการใช้งานภาชนะบรรจุอาหารสำหรับผู้สูงอายุจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและใช้เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน เป็นผู้สูงอายุช่วงอายุระหว่าง 60 – 79 ปี เพื่อค้นหาปัญหาและพฤติกรรมการใช้งาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ 3 ส่วน ดังนี้(1) ผลจากการศึกษาพบว่าปัญหาการใช้งานภาชนะบรรจุอาหารของผู้สูงอายุคือรูปทรงและขนาดของภาชนะที่ยังไม่สอดคล้องกับศักยภาพด้านร่างกาย พฤติกรรมการใช้งาน และภาชนะที่ใช้ไม่รองรับกับปริมาณอาหาร (2) ผลจากการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนา จำนวน 3 ท่าน พบว่า บรรจุภัณฑ์และภาชนะบรรจุอาหาร รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมของรูปทรงของภาชนะบรรจุอาหาร วัสดุที่ใช้ในการผลิต การใช้งานภาชนะและความสะดวกสบายอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 3.95 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.46 (3) ผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ผลการประเมินความพึงพอใจในรายด้านพบว่า ด้านความสะดวกสบาย อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ0.41 ด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.79 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.38ด้านวัสดุ อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 0.40