จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 1 )

บรรษัทภิบาล และการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรษัทภิบาลที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีและการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ที่ได้จากงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) แบบ 56-1 One Report และคะแนนผลการประเมินจากเว็บไซต์ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) จำนวน 192 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) บรรษัทภิบาลที่วัดค่าด้วยการกระจุกตัวของความเป็นเจ้าของ (OWN) การควบอำนาจในการบริหารของประธานกรรมการ (Dual CEO) ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 2) การวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย อัตราส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (ETR) อัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) และอัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์รวม (TAX/ASSET) ส่งผลต่อการเติบโต อย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05