จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 6 )

การศึกษาและพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย
การศึกษาและพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย

การศึกษาและพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อ ในจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า ชาวไทลื้อในจังหวัดเชียงราย อพยพมาจากสิบสองปันนาประเทศจีน เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ผ้าทอของชาติพันธุ์ไทลื้อมีเอกลักษณ์และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ มีวิธีการทอที่หลากหลาย จังหวัดเชียงรายผ้าทอไทลื้อที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์อยู่ในพื้นที่ของอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย ด้านเทคนิคการทอและลวดลาย การศึกษาครั้งนี้ได้ทอผ้า ไทลื้อที่ย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยใบสาบเสือสด ศึกษากระบวนการเตรียมเส้นด้ายก่อนการย้อมสี การเพิ่มสารประจุบวกสำหรับเส้นด้ายฝ้ายก่อนการย้อมสี การใช้สารช่วยติดสี 4 ชนิด คือ จุนสี ให้เส้นด้ายฝ้ายสีเขียวอมเหลือง สารส้มให้เส้นด้ายฝ้ายสีเหลืองอมเขียว ปูนขาว ให้เส้นด้ายฝ้าย สีเขียวอมเทาอ่อน และสนิมเหล็ก ให้เส้นด้ายฝ้ายสีเขียวขี้ม้า การซักล้างสีส่วนเกิน การทอผ้าศึกษากระบวนการเตรียมเส้นด้ายฝ้ายสำหรับเส้นยืน การลงแป้ง การกรอด้าย การเดินด้าย การสืบหูก การกรอด้ายพุ่ง และทอผ้าใช้เทคนิคการทอลวดลายที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงราย เทคนิคการเกาะ การล้วง ของบ้านศรีดอนชัย คือ ลายเกาะแหย่หางปลา และเทคนิคการจก ของบ้านหาดบ้าย คือ ลายแมว และนำผ้าทอสำเร็จเข้าทดสอบความคงทนของสีย้อม ด้านความคงทนของสีต่อน้ำ ความคงทนของสีต่อเหงื่อทั้งสภาพกรดและด่าง ความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะแห้ง และสภาวะเปียก ความคงทนของสีต่อแสง โครงสร้างของผ้า และความแข็งแรง ของผ้าต่อการดึงขาด และการฉีกขาด และเข้าสู่กระบวนการตกแต่งสะท้อนน้ำจากข้อมูล ของกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาจำนวน 50 คน ได้กระเป๋าที่ต้องการพัฒนาจำนวน 3 รูปแบบ คือ กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าถือ และกระเป๋าถือขนาดเล็ก ได้ทำการตัดเย็บและสอบถามความพึงพอใจต่อผู้เชี่ยวชาญ พบว่า กระเป๋าทั้ง 3 รูปแบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก

2565
การออกแบบชุดออกกำลังกายสำหรับสตรีมุสลิม
การออกแบบชุดออกกำลังกายสำหรับสตรีมุสลิม

งานวิจัยเรื่อง การออกแบบชุดออกกำลังกายสำหรับสตรีมุสลิม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและออกแบบชุดออกกำลังกายสำหรับสตรีมุสลิม 2) สร้างต้นแบบชุดออกกำลังกายสำหรับสตรีมุสลิมที่ถูกต้องตามบทบัญญัติจำนวน 5 ชุด 3) ศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายสตรีมุสลิมจำนวน 60 คน จากการศึกษาข้อมูลเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพนั่นคือการเลือกชุดออกกำลังกายที่สวมใส่สบาย เหมาะกับรูปร่าง เนื้อผ้ามีคุณภาพดีเหมาะกับการออกกำลังกาย เพราะนอกจากช่วยให้ออกท่าทางได้อย่างคล่องตัวแล้วยังช่วยจัดระเบียบร่างกายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บอีกด้วยแต่ทว่าชุดออกกำลังกายที่วางขายทั่วไปในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติทางศาสนาอิสลาม ที่ได้มีการกำหนดในเรื่องของการแต่งกายของสตรีไว้ว่าการแต่งกายจะต้องปกปิดมิดชิด ฮิญาบจะต้องไม่มีการประดับประดา เนื้อผ้าจะต้องไม่บางและจะต้องไม่รัดรูปผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะสร้างต้นแบบชุดออกกำลังกายที่ถูกต้องตามบทบัญญัติ โดยดำเนินการออกแบบจากการเก็บรวมรวบข้อมูลเพื่อการออกแบบจากประชากรมุสลิมจำนวน 400 คน เพื่อการนำมาสร้างแบบร่างชุดออกกำลังกายสำหรับสตรีมุสลิมจำนวน 5 รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำไปสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย คือผู้เชี่ยวชาญด้านในด้านการออกแบบโดยพิจารณาจากความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบจำนวน 5 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และนำไปสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายสตรีมุสลิมจำนวน 60 คน ผลวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 18 - 24 ปี อาชีพ นักเรียน/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนใหญ่เป็นการเลือกซื้อชุดออกกำลังกายสำหรับวิ่ง ความถี่ในการซื้อ 6 - 7 เดือนต่อครั้ง พฤติกรรมด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 501 - 1000 บาทต่อครั้ง ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการจัดสินใจซื้อชุดออกกำลังกาย ความปกปิดมิดชิดของเสื้อผ้า อยู่ในระดับมาก ด้านโทนสี โทนสีขาว/ดำ อยู่ในระดับมาก ด้านลวดลายของเสื้อผ้าตอบว่าไม่มีลวดลายอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจผู้สอบถามส่วนใหญ่อายุ 26 - 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นอาชีพนักเรียนนักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจด้านรูปแบบของชุดออกกำลังกาย อยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.33 ด้านสีของชุดออกกำลังกายความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.30 ด้านประโยชน์การใช้สอยอความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.21 ด้านความสวยงามความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 ด้านลวดลายอยู่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13

2565
การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร  ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่
การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ เครื่องมือ ที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบร่างการออกแบบชุด 3 กลุ่มที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอีโมจิ 3 อันดับแรกที่ถูกใช้มากที่สุดในปี 2021 คือ อีโมจิหัวเราะทั้งน้ำตา อีโมจิหัวใจ และอีโมจิไฟลุก โดยอ้างอิงโครงชุดจากกระแสแฟชั่น Y2K ซึ่งเป็นแนวโน้มกระแสแฟชั่นของฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนปี 2022 2) ต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุดจริง 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชุดลำลองสตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ ได้แก่ Designer, Merchandiser, Visual Merchandiser และ Graphic Designer ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีดำเนินการ คือ ร่างแบบชุดลำลอง 3 กลุ่มแล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกเพียง 1 กลุ่ม สำหรับตัดเย็บจริงแล้วนำไปสอบถามความ พึงพอใจกับกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษา พบว่า แบบร่างการออกแบบชุดลำลองที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจาก ผู้เชี่ยวชาญคือ ชุดลำลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอีโมจิไฟลุก ซึ่งเป็นชุดที่มีความทันสมัย มีลูกเล่นที่ น่าสนใจ ตลอดจนวิธีการวางองค์ประกอบของลวดลาย ทำได้เรียบง่าย สะอาดตา จึงทำให้เสื้อผ้าน่า สวมใส่ ไม่ดูมากหรือน้อยเกินไป สามารถนำมา mixed & matched ได้เหมาะสม กลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งหมด 30 คน พบว่า มีเพศหญิง 15 คน และเพศชาย 15 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36 - 40 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ Designer รายได้ระหว่าง 35,001 – 45,000 บาท และมี การศึกษาระดับปริญญาตรี ผลความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ ในด้านรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านสี อยู่ในระดับ มากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านลวดลาย อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในด้านวิธีการ แอพพลิเค่ อยู่ในระดับมากที่สุด

2565
การออกแบบและวิเคราะห์แม่พิมพ์โลหะเพื่อขึ้นรูปยางรันแฟลทสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
การออกแบบและวิเคราะห์แม่พิมพ์โลหะเพื่อขึ้นรูปยางรันแฟลทสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

การออกแบบและวิเคราะห์แม่พิมพ์โลหะที่ใช้ในกระบวนการขึ้นรูปวงล้อนิรภัยสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนการกระจายตัวของความร้อน การสูญเสียความร้อนของแม่พิมพ์โลหะและวงล้อนิรภัย โดยใช้โปรแกรม SolidWorks ออกแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์และประกอบแม่พิมพ์เข้าด้วยกัน โดยเลือกใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ด้วยโปรแกรม SolidWorks Simulation เพื่อสร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับแม่พิมพ์โลหะและวงล้อนิรภัยสามมิติ ในกระบวนการอัดขึ้นรูปวงล้อนิรภัยรันแฟลท แม่พิมพ์โลหะจะได้รับความร้อนที่ถูกส่งผ่านมาจากแท่นอัดที่มีการติดตั้งแท่งฮีตเตอร์อยู่ภายใน แม่พิมพ์ถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้ความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 300 องศาเซลเซียส วัสดุ SKD11 เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่มีสมบัติทางกลและสมบัติทางความร้อนทเี่ หมาะสมสำหรับการผลิตเป็นแม่พิมพ์จึงถูกเลือกนำมาใช้ผลิตเป็นแม่พิมพ์โลหะและใช้ในการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อน แม่พิมพ์ยังได้รับการออกแบบให้สามารถวางโครงสร้างโลหะกันสนิมอยู่ภายในแม่พิมพ์เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับวงล้อนิรภัยรันแฟลทและใช้ในการจับยึดวงล้อนิรภัยรันแฟลทเข้าด้วยกัน ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แสดงให้เห็นการถ่ายเทความร้อน การกระจายตัวของความร้อนและการสูญเสียความร้อนในแม่พิมพ์และวงล้อนิรภัย เมื่อความร้อนได้ถูกส่งผ่านจากแม่พิมพ์ไปยังผงพอลิเมอร์คอมโพสิตหรือเนื้อยางคอมโพสิตซึ่งถูกบรรจุอยู่ในแม่พิมพ์จะส่งผลให้เกิดการหลอมเหลวของผงพอลิเมอร์คอมโพสิตหรือเนื้อยางคอมโพสิต ผงพอลิเมอร์คอมโพสิตหรือเนื้อยางคอมโพสิตที่หลอมเหลวจะเข้าห่อหุ้มโครงเหล็กกันสนิมทำให้เกิดนวัตกรรมวงล้อนิรภัยที่มีความแข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการสูญเสียความร้อนที่ภายนอกแม่พิมพ์ซึ่งไม่ส่งผลต่อการกระจายตัวของความร้อนภายในแม่พิมพ์ ในการนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์จะต้องทำการหล่อเย็นแม่พิมพ์เพื่อลดอุณหภูมิเสียก่อนจึงจะสามารถนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ได้

2565
การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ
การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ

การวิจัยเรื่อง การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนเพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติที่เหมาะสมของเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน 2) ออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่จากเส้นด้ายผสมเส้นใยไหม กับเส้นใยฟิลาเจน 3) วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของผืนผ้าผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน 4) ออกแบบเสื้อผ้าบุรุษจากผ้ามัดหมี่เส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนและ 5) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สาหรับเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวล ด้วยวิธีการตัดต่อ โดยการศึกษาสมบัติที่เหมาะสมของเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนเพื่อออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ โดยใช้แนวคิดจากศิลปะอิสลาม จำนวน 3 ลวดลาย คัดเลือก 1 ลวดลาย นำไปมัดลวดลายและทอเป็นผืนผ้า วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของผืนผ้า นำมาตัดเย็บ เสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อ 1 คอลเลคชั่น และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่ม ตัวอย่าง คือ Designer, Merchandiser, Visual merchandiser, Graphic designer, และผู้มีประสบการณ์ด้านการทอผ้าที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน ด้วยการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบสมบัติการเปรียบเทียบของเส้นด้ายทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ทดสอบความแข็งแรงของเส้นด้าย ด้านแรงดึงขาด ด้านการยืดตัวขณะขาด และด้านขนาดเส้นด้ายพบว่า อัตราส่วนที่ 1 ร้อยละ 70:30 เมื่อนำไปดำเนินการทดสอบความแข็งแรงของเส้นด้าย ด้านแรง ดึงขาดอยู่ที่ 14.97 นิวตัน ด้านการยืดตัวขณะขาดอยู่ที่ ร้อยละ 11.12 และทดสอบด้านขนาดเส้นด้าย อยู่ที่ 574.7 ดีเนียร์ จัดอยู่ในกลุ่มของเส้นด้ายขนาดใหญ่ (Heavy type) มีความเหมาะสมที่จะนาไปทำการพัฒนาเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนต้นแบบ มากที่สุด ด้านการออกแบบ ลวดลายผ้ามัดหมี่ โดยใช้แรงบันดาลใจจากศิลปะอิสลาม (Islamic Art) จำนวน 3 ลวดลาย พบว่าลวดลายที่ 3 ได้รับความพึงพอใจ มากที่สุด เนื่องจากลวดลายที่ออกแบบมีความสวยงามเหมาะสมสัมพันธ์กับแรงบันดาลใจที่นำมาออกแบบและมีความละเอียดขององค์ประกอบลวดลายที่สะท้อนให้ เห็นถึงอัตลักษณ์ความเป็นศิลปะอิสลาม จึงมีความเหมาะสมในการนำมาทอเป็นลวดลายผ้ามัดหมี่การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ด้านน้ำหนักผ้า (Fabric Weight) พบว่า ด้านน้ำหนักผ้า อยู่ที่ 96 กรัมต่อตารางเมตร ด้านจำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาว (Threads per Unit Length) พบว่า จำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาวเส้นด้ายยืน อยู่ที่ 85 เส้นต่อนิ้ว และเส้นด้ายพุ่ง อยู่ที่ 56 เส้นต่อนิ้ว ด้านความหนาของผืนผ้า อยู่ที่ 0.24 มิลลิเมตร ด้านการขจัดกลิ่นอับกลิ่นเหงื่อ (Deodorization) พบว่า มีอัตราการลดกลิ่นอับกลิ่นเหงื่ออยู่ที่ ร้อยละ 78.42 ด้านการถ่ายเทอุณหภูมิ (Q-Max) พบว่า ผลอยู่ที่ 0.16 w/cm2 - 0.17 w/cm2 ผ้ามีสมบัติทางกายภาพด้านการถ่ายเทอุณหภูมิ (Q-Max) อยู่ในระดับมาตรฐาน ด้านป้องกันแสงแดด (UV Protection) ทั้งสภาวะแห้งและสภาวะเปียก มีระดับ ค่า UPF อยู่ที่ 25 อยู่ในระดับดีมาก มีผลการป้องกันแสงยูวีอยู่ที่ ร้อยละ 96.0 - ร้อยละ 97.5 เหมาะ กับการอยู่กลางแดด 1 ชั่วโมง – 4 ชั่วโมง ด้านการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษ ผลการคัดเลือกรูปแบบ เสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อ พบว่า รูปแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วย วิธีการตัดต่อ คอลเลคชั่นที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากตอบโจทย์คาว่าเมโทรเซ็กชวลในแง่ ของเส้นแบบตัดการตัดต่อ วัสดุ และรูปแบบที่ให้ภาพรวมของเมโทรเซ็กชวลชัดเจน ขึ้น มีความสวยงามและมีความทันสมัย สอดคล้องกับแนวโน้มแฟชั่นและแรงบันดาลใจ สามารถสวมใส่ได้จริงด้านการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อผ้ามัดหมี่โดยรวม มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (𝑥̅ = 4.94) และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อพบว่า ความพึงพอใจด้านรูปแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวล ด้านความสวยงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านสี และด้านวิธีการตัดต่อลวดลาย โดยรวมทุกรูปแบบมีความ พึงพอใจในระดับ มากที่สุด (𝑥̅ = 4.88)

2566