จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 3 )
การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน เพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ
การวิจัยเรื่อง การประยุกต์เส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนเพื่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สำหรับเสื้อผ้าบุรุษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติที่เหมาะสมของเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน 2) ออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่จากเส้นด้ายผสมเส้นใยไหม กับเส้นใยฟิลาเจน 3) วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของผืนผ้าผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจน 4) ออกแบบเสื้อผ้าบุรุษจากผ้ามัดหมี่เส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนและ 5) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่สาหรับเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวล ด้วยวิธีการตัดต่อ โดยการศึกษาสมบัติที่เหมาะสมของเส้นด้ายผสมเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนเพื่อออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ โดยใช้แนวคิดจากศิลปะอิสลาม จำนวน 3 ลวดลาย คัดเลือก 1 ลวดลาย นำไปมัดลวดลายและทอเป็นผืนผ้า วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของผืนผ้า นำมาตัดเย็บ เสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อ 1 คอลเลคชั่น และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่ม ตัวอย่าง คือ Designer, Merchandiser, Visual merchandiser, Graphic designer, และผู้มีประสบการณ์ด้านการทอผ้าที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน ด้วยการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบสมบัติการเปรียบเทียบของเส้นด้ายทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ทดสอบความแข็งแรงของเส้นด้าย ด้านแรงดึงขาด ด้านการยืดตัวขณะขาด และด้านขนาดเส้นด้ายพบว่า อัตราส่วนที่ 1 ร้อยละ 70:30 เมื่อนำไปดำเนินการทดสอบความแข็งแรงของเส้นด้าย ด้านแรง ดึงขาดอยู่ที่ 14.97 นิวตัน ด้านการยืดตัวขณะขาดอยู่ที่ ร้อยละ 11.12 และทดสอบด้านขนาดเส้นด้าย อยู่ที่ 574.7 ดีเนียร์ จัดอยู่ในกลุ่มของเส้นด้ายขนาดใหญ่ (Heavy type) มีความเหมาะสมที่จะนาไปทำการพัฒนาเส้นด้ายผสมระหว่างเส้นใยไหมกับเส้นใยฟิลาเจนต้นแบบ มากที่สุด ด้านการออกแบบ ลวดลายผ้ามัดหมี่ โดยใช้แรงบันดาลใจจากศิลปะอิสลาม (Islamic Art) จำนวน 3 ลวดลาย พบว่าลวดลายที่ 3 ได้รับความพึงพอใจ มากที่สุด เนื่องจากลวดลายที่ออกแบบมีความสวยงามเหมาะสมสัมพันธ์กับแรงบันดาลใจที่นำมาออกแบบและมีความละเอียดขององค์ประกอบลวดลายที่สะท้อนให้ เห็นถึงอัตลักษณ์ความเป็นศิลปะอิสลาม จึงมีความเหมาะสมในการนำมาทอเป็นลวดลายผ้ามัดหมี่การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ด้านน้ำหนักผ้า (Fabric Weight) พบว่า ด้านน้ำหนักผ้า อยู่ที่ 96 กรัมต่อตารางเมตร ด้านจำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาว (Threads per Unit Length) พบว่า จำนวนเส้นด้ายต่อหน่วยความยาวเส้นด้ายยืน อยู่ที่ 85 เส้นต่อนิ้ว และเส้นด้ายพุ่ง อยู่ที่ 56 เส้นต่อนิ้ว ด้านความหนาของผืนผ้า อยู่ที่ 0.24 มิลลิเมตร ด้านการขจัดกลิ่นอับกลิ่นเหงื่อ (Deodorization) พบว่า มีอัตราการลดกลิ่นอับกลิ่นเหงื่ออยู่ที่ ร้อยละ 78.42 ด้านการถ่ายเทอุณหภูมิ (Q-Max) พบว่า ผลอยู่ที่ 0.16 w/cm2 - 0.17 w/cm2 ผ้ามีสมบัติทางกายภาพด้านการถ่ายเทอุณหภูมิ (Q-Max) อยู่ในระดับมาตรฐาน ด้านป้องกันแสงแดด (UV Protection) ทั้งสภาวะแห้งและสภาวะเปียก มีระดับ ค่า UPF อยู่ที่ 25 อยู่ในระดับดีมาก มีผลการป้องกันแสงยูวีอยู่ที่ ร้อยละ 96.0 - ร้อยละ 97.5 เหมาะ กับการอยู่กลางแดด 1 ชั่วโมง – 4 ชั่วโมง ด้านการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษ ผลการคัดเลือกรูปแบบ เสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อ พบว่า รูปแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วย วิธีการตัดต่อ คอลเลคชั่นที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากตอบโจทย์คาว่าเมโทรเซ็กชวลในแง่ ของเส้นแบบตัดการตัดต่อ วัสดุ และรูปแบบที่ให้ภาพรวมของเมโทรเซ็กชวลชัดเจน ขึ้น มีความสวยงามและมีความทันสมัย สอดคล้องกับแนวโน้มแฟชั่นและแรงบันดาลใจ สามารถสวมใส่ได้จริงด้านการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อผ้ามัดหมี่โดยรวม มีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (𝑥̅ = 4.94) และผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการออกแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวลด้วยวิธีการตัดต่อพบว่า ความพึงพอใจด้านรูปแบบเสื้อผ้าบุรุษสไตล์เมโทรเซ็กชวล ด้านความสวยงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านสี และด้านวิธีการตัดต่อลวดลาย โดยรวมทุกรูปแบบมีความ พึงพอใจในระดับ มากที่สุด (𝑥̅ = 4.88)
อัตลักษณ์ลวดลายผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จังหวัดสงขลา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก 2) ศึกษากระบวนการสร้างลวดลายบนผืนผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้เป็นสินค้าที่ทันสมัยโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่กำหนดเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่จาเป็นตามวัตถุประสงค์ได้แก่ ผู้ที่อาศัยในชุมชนย่านเมืองเก่า อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมเมืองเก่า จำนวน 5 คน เพื่อศึกษาอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นใยและการออกแบบทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 5 คนเพื่อศึกษากระบวนการสร้างลวดลายบนผืนผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ และนักท่องเที่ยวพื้นที่ย่าน เมืองเก่า อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 150 คน เพื่อประเมินความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้เป็นสินค้าที่ทันสมัยโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจวิธีดำเนินการวิจัย ทำการศึกษาอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก จากนั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบลวดลายและสร้างสรรค์เป็นลวดลายบาติกด้วยการย้อมสีครามธรรมชาติ เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จำนวน 1 คอลเลคชั่นประเมินความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา ด้านอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก พบว่าเมืองเก่าสงขลาเป็นเมืองสำคัญที่มีมรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม และเป็นแหล่งผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของกลุ่มคนสามศาสนาคือชาวไทยพุทธ ไทยจีน และไทยมุสลิม ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบวิถีชีวิตชุมชนที่มีเอกลักษณ์และ รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีรูปแบบงานศิลปกรรมจากลวดลายธรรมชาติผสมผสานลวดลายสถาปัตยกรรม ผู้วิจัยนาความหมายที่มีร่วมกันของรูปแบบลวดลาย รวมถึงทฤษฎีการออกแบบและความคล้ายคลึงกัน โดยมีองค์ประกอบของสี โครงร่างเงา รายละเอียดตกแต่ง และวัสดุทำให้เกิดเป็นลวดลายใหม่ที่สวยงามและแฝงด้วยเรื่องราวของอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลา ด้านผลการศึกษากระบวนการสร้างลวดลายบนผืนผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ พบว่า ลวดลายที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน คือ ลวดลายที่ 1 จากแนวคิดการออกแบบของโรงสีแดง หับ โห้ หินมัสยิดบ้านบน และประตูเมืองสงขลา มีเอกลักษณ์เฉพาะในด้านโครงสร้างตัวอาคารผสมผสานระหว่างอาคารในย่านเมืองเก่าประกอบเป็นโครงสร้างและนาลักษณะของเส้นโค้งที่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวจากลวดลายช่องลมมาประกอบเป็นลวดลายที่สะท้อนความงามและอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ จากนั้นนำไปสร้างสรรค์ลวดลายบาติกและย้อมสีครามธรรมชาติ ทาการทดสอบความคงทนของสีต่อแสง พบว่ามีความคงทน >4 ทดสอบความคงทนของสีต่อการซัก พบว่า มีความคงทนระดับ 4 ทดสอบความคงทนของสีต่อการขัดถู พบว่า มีความคงทนสภาวะแห้ง ระดับ 2 - 3 ความคงทนสภาวะเปียก ระดับ 1 - 2 และความต้านทานต่อการขัดถู พบว่า มีความต้านทาน >10,000 ครั้ง และประเมินความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดสงขลาประเภทเสื้อผ้า มีค่าคะแนนสูงสุด (𝑥̅=4.34) รองลงมาผ้าโพกศีรษะและรองเท้าเท่ากัน (𝑥̅=4.30) กระเป๋า (𝑥̅=4.28) และหมวก(𝑥̅=4.27) ตามลำดับ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยได้รับความพึงพอใจในระดับมาก (𝑥̅= 4.30)
การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สีและลวดลายผ้าเบี่ยงไหมขิด 2) ออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าเบี่ยงไหมขิด และด้านการออกแบบลวดลาย จำนวน 5 ท่าน และสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมขิด บ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แกแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สีและลวดลาย การใช้สี ประกอบด้วย 11 สี ได้แก่ สีครามจากต้นคราม สีแดงจากครั่ง สีเขียวจากใบสบู่เลือด สีชมพูจากไม้ฝาง สีเหลืองเข้มจากแก่นเข สีดำจากผลมะเกลือ สีทองจากดอกบัวแดง สีเงินจากก้านดอกบัวแดง สีน้ำตาลจากฝักคูน และสีเหลืองนวลจากผลทับทิม ส่วนลวดลายประกอบด้วย 9 ลาย ได้แก่ ลายกะปูอุ้มดาว ลายแมงงอด ลายหงส์ใหญ่ ลายพันมหา ลายหมากนัด ลายบายศรีอุ้มหน่วย ลายกาบอุ้มดาว ลายดาวจุ้ม และลายหงอนเงือก 2) การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายขอหลง ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายตะเภาหลงเกาะ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายดอกพิกุล ผู้เชี่ยวชาญเลือก ลายขอหลงประเภทที่ 1 ลายตะเภาหลงเกาะประเภทที่ 2 และลายดอกพิกุลประเภทที่ 1 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดบ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สีและลวดลายมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67 ด้านการออกแบบมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.85 และด้านผลิตภัณฑ์ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.82 ตามลำดับ