จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 2 )
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวาน ของนักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานของนักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ศึกษาการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานของนักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์4) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวกับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 5) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานของนักท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวาน จังหวัด เพชรบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.00 มีอายุอยู่ในช่วง 31 - 40 ปี ร้อยละ 29.25 โดยเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 33.25 ที่มีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 27.25และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ 41.50 2) นักท่องเที่ยวที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( X̅ = 4.23, S.D. = 0.544) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสรุปได้ว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ( X̅ = 4.31, S.D. = 0.660) รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ (X̅ = 4.26, S.D. =0.569) และน้อยที่สุดคือ ด้านทำเลที่ตั้ง (X̅ = 4.17, S.D. = 0.756) 3) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์ มะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะเพื่อเป็นของฝาก ร้อยละ 31.50 ซึ่งเป็นประเภทมะขามฝัก ได้แก่มะขามผ่าไร้เมล็ด มะขามแกะเปลือก มะขามฝักสด ร้อยละ 33.00 ทั้งนี้ นานๆ ครั้ง จะซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวาน ร้อยละ 38.25 ในปริมาณครั้งละ 2-3 ถุง/กล่อง ร้อยละ 47.00 โดยมีค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,001-2,000บาท ร้อยละ 38.00 4) อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ภูมิลาเนาของนักท่องเที่ยว มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยว ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินเลือกซื้อผลิตภัณฑ์มะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์
การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สีและลวดลายผ้าเบี่ยงไหมขิด 2) ออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าเบี่ยงไหมขิด และด้านการออกแบบลวดลาย จำนวน 5 ท่าน และสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมขิด บ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แกแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สีและลวดลาย การใช้สี ประกอบด้วย 11 สี ได้แก่ สีครามจากต้นคราม สีแดงจากครั่ง สีเขียวจากใบสบู่เลือด สีชมพูจากไม้ฝาง สีเหลืองเข้มจากแก่นเข สีดำจากผลมะเกลือ สีทองจากดอกบัวแดง สีเงินจากก้านดอกบัวแดง สีน้ำตาลจากฝักคูน และสีเหลืองนวลจากผลทับทิม ส่วนลวดลายประกอบด้วย 9 ลาย ได้แก่ ลายกะปูอุ้มดาว ลายแมงงอด ลายหงส์ใหญ่ ลายพันมหา ลายหมากนัด ลายบายศรีอุ้มหน่วย ลายกาบอุ้มดาว ลายดาวจุ้ม และลายหงอนเงือก 2) การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายขอหลง ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายตะเภาหลงเกาะ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายดอกพิกุล ผู้เชี่ยวชาญเลือก ลายขอหลงประเภทที่ 1 ลายตะเภาหลงเกาะประเภทที่ 2 และลายดอกพิกุลประเภทที่ 1 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดบ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สีและลวดลายมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67 ด้านการออกแบบมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.85 และด้านผลิตภัณฑ์ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.82 ตามลำดับ