จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 2 )

ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวสู่การออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร
ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวสู่การออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร

การศึกษาเรื่อง ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวสู่การออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวของจังหวัดสมุทรสงคราม 2) การออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาว 3) การออกแบบตัดชุดสตรีสไตล์เรโทร และ4) ความพึงพอใจที่มีต่อชุดสตรีสไตล์เรโทรโดยใช้ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีจากเปลือกตะบูนขาว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกต การทดลอง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเมินโดยผู้เชียวชาญและกลุ่มประชากร กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 34 คน ผลการศึกษาพบว่า ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเปลือกไม้เขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม ให้สีน้ำตาลร่วมกับการใช้น้ำขี้เถ้าเป็นส่วนสำคัญในการเป็นสารช่วยติดสี การต้มสกัดสี และย้อมสี จึงทำให้ผ้ามัดย้อมจากเปลือกตะบูนขาวมีความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อน้ำ และความคงทนของสีต่อแสง ด้านการออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมได้การมัดย้อมแบบซิโบริลายใบและดอกตะบูน ด้านการออกแบบตัดชุดสตรีสไตล์เรโทร ได้ชุดติดกันแบบกระโปรงวงกลม รูปแบบที่ 1 ชุดติดกันแบบ A-Line รูปแบบที่ 2 และเสื้อ กระโปรงรูปแบบที่ 1 ด้านลวดลายได้ผลการประเมิน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ยที่ 4.60 ด้านการออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร ชุดติดกันแบบกระโปรงวงกลม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.71

2566
อัตลักษณ์ลวดลายผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จังหวัดสงขลา
อัตลักษณ์ลวดลายผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จังหวัดสงขลา

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก 2) ศึกษากระบวนการสร้างลวดลายบนผืนผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้เป็นสินค้าที่ทันสมัยโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่กำหนดเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่จาเป็นตามวัตถุประสงค์ได้แก่ ผู้ที่อาศัยในชุมชนย่านเมืองเก่า อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมเมืองเก่า จำนวน 5 คน เพื่อศึกษาอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นใยและการออกแบบทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 5 คนเพื่อศึกษากระบวนการสร้างลวดลายบนผืนผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ และนักท่องเที่ยวพื้นที่ย่าน เมืองเก่า อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 150 คน เพื่อประเมินความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้เป็นสินค้าที่ทันสมัยโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจวิธีดำเนินการวิจัย ทำการศึกษาอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก จากนั้นนำมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบลวดลายและสร้างสรรค์เป็นลวดลายบาติกด้วยการย้อมสีครามธรรมชาติ เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จำนวน 1 คอลเลคชั่นประเมินความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา ด้านอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลาในการออกแบบลวดลายผ้าบาติก พบว่าเมืองเก่าสงขลาเป็นเมืองสำคัญที่มีมรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรม และเป็นแหล่งผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของกลุ่มคนสามศาสนาคือชาวไทยพุทธ ไทยจีน และไทยมุสลิม ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบวิถีชีวิตชุมชนที่มีเอกลักษณ์และ รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีรูปแบบงานศิลปกรรมจากลวดลายธรรมชาติผสมผสานลวดลายสถาปัตยกรรม ผู้วิจัยนาความหมายที่มีร่วมกันของรูปแบบลวดลาย รวมถึงทฤษฎีการออกแบบและความคล้ายคลึงกัน โดยมีองค์ประกอบของสี โครงร่างเงา รายละเอียดตกแต่ง และวัสดุทำให้เกิดเป็นลวดลายใหม่ที่สวยงามและแฝงด้วยเรื่องราวของอัตลักษณ์เมืองเก่าสงขลา ด้านผลการศึกษากระบวนการสร้างลวดลายบนผืนผ้าบาติกด้วยสีครามธรรมชาติ พบว่า ลวดลายที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน คือ ลวดลายที่ 1 จากแนวคิดการออกแบบของโรงสีแดง หับ โห้ หินมัสยิดบ้านบน และประตูเมืองสงขลา มีเอกลักษณ์เฉพาะในด้านโครงสร้างตัวอาคารผสมผสานระหว่างอาคารในย่านเมืองเก่าประกอบเป็นโครงสร้างและนาลักษณะของเส้นโค้งที่ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวจากลวดลายช่องลมมาประกอบเป็นลวดลายที่สะท้อนความงามและอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ จากนั้นนำไปสร้างสรรค์ลวดลายบาติกและย้อมสีครามธรรมชาติ ทาการทดสอบความคงทนของสีต่อแสง พบว่ามีความคงทน >4 ทดสอบความคงทนของสีต่อการซัก พบว่า มีความคงทนระดับ 4 ทดสอบความคงทนของสีต่อการขัดถู พบว่า มีความคงทนสภาวะแห้ง ระดับ 2 - 3 ความคงทนสภาวะเปียก ระดับ 1 - 2 และความต้านทานต่อการขัดถู พบว่า มีความต้านทาน >10,000 ครั้ง และประเมินความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดสงขลาประเภทเสื้อผ้า มีค่าคะแนนสูงสุด (𝑥̅=4.34) รองลงมาผ้าโพกศีรษะและรองเท้าเท่ากัน (𝑥̅=4.30) กระเป๋า (𝑥̅=4.28) และหมวก(𝑥̅=4.27) ตามลำดับ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยได้รับความพึงพอใจในระดับมาก (𝑥̅= 4.30)

2566