จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 8 )

การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของสื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา2) ประเมินความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของสื่อการสอนออนไลน์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนออนไลน์ โดยมีประชากรเป็นนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 แผนกอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา จำนวน 30 คน และดำเนินการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนออนไลน์ แบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของสื่อการสอนออนไลน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการสอนออนไลน์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า E1/E2 ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อการสอนออนไลน์ เรื่อง รายการอาหารแลกเปลี่ยนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา มีประสิทธิภาพเป็น 80.11/ 89.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าสื่อการสอนออนไลน์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนออนไลน์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านประโยชน์ต่อผู้ใช้สื่อออนไลน์ รองลงมาคือ ด้านการออกแบบสื่อออนไลน์ และน้อยที่สุดคือ ด้านเนื้อหาของบทเรียน สรุปได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

2565
การตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาคหกรรมของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา
การตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาคหกรรมของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคลลของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา 2) ศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา 3) ศึกษาการตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาคหกรรมของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา 4)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนกับการตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา และ 5) เปรียบเทียบระดับความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาคหกรรมของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา จำแนกตามปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาคหกรรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา จำนวน 107 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์การทดสอบค่าไคสแควร์ และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายประมาณ 3.01 - 3.50 ทั้งนี้นักเรียนมีวุฒิศึกษาเดิมเป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส. 2) สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ 2) ผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างโดยมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ซึ่งมีรายได้ประมาณ 10,001 - 15,000 บาททั้งนี้นักเรียนตัดสินใจเรียนด้วยตนเอง 3) นักเรียนให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาโดยรวม อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผู้สอน รองลงมาคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านกิจกรรมการพัฒนานักเรียน และน้อยที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจ เลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) อาชีพของผู้ปกครองที่ต่างกัน ให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาแตกต่างกัน นอกนั้นไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2565
การศึกษาและพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย
การศึกษาและพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย

การศึกษาและพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อพัฒนากระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อ ในจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกระเป๋าสตรีจากผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า ชาวไทลื้อในจังหวัดเชียงราย อพยพมาจากสิบสองปันนาประเทศจีน เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ผ้าทอของชาติพันธุ์ไทลื้อมีเอกลักษณ์และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ มีวิธีการทอที่หลากหลาย จังหวัดเชียงรายผ้าทอไทลื้อที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์อยู่ในพื้นที่ของอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย ด้านเทคนิคการทอและลวดลาย การศึกษาครั้งนี้ได้ทอผ้า ไทลื้อที่ย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยใบสาบเสือสด ศึกษากระบวนการเตรียมเส้นด้ายก่อนการย้อมสี การเพิ่มสารประจุบวกสำหรับเส้นด้ายฝ้ายก่อนการย้อมสี การใช้สารช่วยติดสี 4 ชนิด คือ จุนสี ให้เส้นด้ายฝ้ายสีเขียวอมเหลือง สารส้มให้เส้นด้ายฝ้ายสีเหลืองอมเขียว ปูนขาว ให้เส้นด้ายฝ้าย สีเขียวอมเทาอ่อน และสนิมเหล็ก ให้เส้นด้ายฝ้ายสีเขียวขี้ม้า การซักล้างสีส่วนเกิน การทอผ้าศึกษากระบวนการเตรียมเส้นด้ายฝ้ายสำหรับเส้นยืน การลงแป้ง การกรอด้าย การเดินด้าย การสืบหูก การกรอด้ายพุ่ง และทอผ้าใช้เทคนิคการทอลวดลายที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงราย เทคนิคการเกาะ การล้วง ของบ้านศรีดอนชัย คือ ลายเกาะแหย่หางปลา และเทคนิคการจก ของบ้านหาดบ้าย คือ ลายแมว และนำผ้าทอสำเร็จเข้าทดสอบความคงทนของสีย้อม ด้านความคงทนของสีต่อน้ำ ความคงทนของสีต่อเหงื่อทั้งสภาพกรดและด่าง ความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะแห้ง และสภาวะเปียก ความคงทนของสีต่อแสง โครงสร้างของผ้า และความแข็งแรง ของผ้าต่อการดึงขาด และการฉีกขาด และเข้าสู่กระบวนการตกแต่งสะท้อนน้ำจากข้อมูล ของกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาจำนวน 50 คน ได้กระเป๋าที่ต้องการพัฒนาจำนวน 3 รูปแบบ คือ กระเป๋าหิ้ว กระเป๋าถือ และกระเป๋าถือขนาดเล็ก ได้ทำการตัดเย็บและสอบถามความพึงพอใจต่อผู้เชี่ยวชาญ พบว่า กระเป๋าทั้ง 3 รูปแบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก

2565
การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการประกอบอาหารตะวันตก (พาสต้า) รายวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการประกอบอาหารตะวันตก (พาสต้า) รายวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพของสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการประกอบอาหารตะวันตก (พาสต้า) รายวิชาการงานอาชีพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้สื่อมัลติมีเดีย 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่องการประกอบอาหารตะวันตก (พาสต้า)รายวิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เลือกเรียนรายวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียประกอบการสอน แบบประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียแบบประเมินภาคปฏิบัติ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณภาพเนื้อหาของสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก µ= 4.27 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการดำเนินเรื่อง µ= 4.56 รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา µ= 4.33 และน้อยที่สุดคือ ด้านคุณค่าและประโยชน์ µ= 4.08 ส่วนคุณภาพการผลิตสื่อมัลติมีเดียโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก µ= 4.32 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ µ= 4.50 รองลงมาคือด้านตัวอักษร µ= 4.40 และน้อยที่สุดคือ ด้านเสียง µ= 4.17 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด = 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการใช้งาน = 4.52 รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาของบทเรียน = 4.50 และน้อยที่สุดคือ ด้านเทคนิคการนาเสนอ = 4.48 และ 4) นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดียประกอบการสอน เรื่องการประกอบอาหารตะวันตก (พาสต้า) รายวิชาการงานอาชีพ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ หลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า คะแนนหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2566
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียน นักศึกษาสาขาอาหารและโภชนาการ
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียน นักศึกษาสาขาอาหารและโภชนาการ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) วิเคราะห์องค์ประกอบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารและครูที่มีการสอนหรือการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ ที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาในเขตภาคกลาง จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความสำคัญของรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลวิเคราะห์องค์ประกอบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 2.1) องค์ประกอบด้านสังคม Society ประกอบด้วย การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นมิตรต่อผู้ร่วมงาน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เสียสละประโยชน์ของตนเองเพื่อส่วนรวม 2.2) องค์ประกอบด้านความคิดสร้างสรรค์ Creative ประกอบด้วยมีความคิดสร้างสรรค์และการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างเป้าหมายและพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2.3) องค์ประกอบด้านการปรับเปลี่ยน Change ประกอบด้วย สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกสถานการณ์ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน และ 3)รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้ศึกษาพัฒนา ชื่อ “S2C Model” เป็นรูปแบบของกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสังคมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาตนเองและสร้างเป้าหมายให้กับธุรกิจ ด้วยการทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนตามหลักการ PDCA เพื่อการปรับเปลี่ยนตนเองและธุรกิจให้เป็นไปได้ในทางที่ดี

2566