จำนวนการค้นคว้าอิสระ ( 14 )
การเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุของพนักงานกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2548 ประเทศไทยได้กลายเป็น “สังคมสูงวัย” (Aged Society) การเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุมีความสำคัญต่อพนักงานกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุของพนักงานกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานระดับปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจสุรา XYZ จำนวน 303 คน วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วยค่า t-Test และ One-Way ANOVA (F-Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51-55 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนมากกว่า 55,001 บาท มีสถานภาพสมรส ตำแหน่งงานระดับ 6-7 มีที่พักอาศัยเป็นของตนเอง และสมาชิกในครอบครัวมีจำนวน 2 คน กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุในทุกด้านระดับมาก ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว (x̄ 4.37) ด้านการเงิน (x̄ = 4.11) ด้านร่างกาย (x̄ = 3.99) ด้านที่อยู่อาศัย (x̄ = 3.87) ด้านจิตใจ (x̄ = 3.86) ด้านประกันชีวิต (x̄ = 3.72) ด้านกิจกรรมและการใช้เวลาว่าง (x̄ = 3.71) ตามลำดับผลการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุต่างกัน พบว่า 1) เพศและที่พักอาศัยต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุด้านสัมพันธภาพในครอบครัวต่างกัน 2) ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระดับตำแหน่งงาน ที่พักอาศัย และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุด้านการทำประกันชีวิตต่างกัน 3) รายได้ต่อเดือนและจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกันมีการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุด้านสุขภาพจิตใจต่างกัน
หลักธรรมาภิบาลของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพงบการเงินของสำนักงานบัญชีคุณภาพ
การศึกษาเรื่องหลักธรรมาภิบาลและความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อ คุณภาพงบการเงินของสำนักงานบัญชีคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลของ นักบัญชีและสำนักงานบัญชีดิจิทัลที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของสำนักงานบัญชีคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร หรือ นักบัญชีของสำนักงานบัญชีคุณภาพในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและภาคกลาง จำนวน 40 บริษัท โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า หลักธรรมาภิบาลของนักบัญชีและสำนักงานบัญชีดิจิทัลส่งต่อคุณภาพ รายงานการเงินของสำนักงานบัญชีคุณภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน แชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ สินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Method) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้ เฟซบุ๊กในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสโนว์บอล (Snowball Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบ สมมติฐาน คือ สถิติสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุน้อยกว่า 21 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพโสดมีอาชีพนักเรียน/ นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยี ด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ และด้านการรับรู้ถึงความเสี่ยง และ พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ด้านประสิทธิภาพของสารสนเทศ ด้านอารมณ์ออนไลน์ ด้านความต่อเนื่อง และด้านความบันเทิงออนไลน์ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก ในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารสำนักงานบัญชีคุณภาพ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ใช้งาน โครงสร้างขององค์กร และการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหารสำนักงานบัญชีคุณภาพ และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของของผู้บริหารสำนักงานบัญชีคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงสำรวจ การเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามจำนวน 117 ตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ด้วยการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของผู้ใช้งาน (UC) โครงสร้างขององค์กร (OS) และการมี ส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (UP) มีความสัมพันธ์เชิงบวกมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี (EAIS) อย่างมีนัยสำคัญและประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี (EAIS) มีความสัมพันธ์เชิงบวกมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการตัดสินใจ ของผู้บริหารสำนักงานบัญชีคุณภาพ (De-Ex) อย่างมีนัยสำคัญ
สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาคารสถานีรถไฟฟ้าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาคารสถานีรถไฟฟ้าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาคารสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (Blue Line) และสายรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) จำนวน 200 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย t – test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20 – 25 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. หรือเทียบเท่า มีประสบการณ์ทางานน้อยกว่า 1 ปี และระหว่าง 1 – 3 ปี ซึ่งปฏิบัติงานสังกัดหน่วยงานสายสีน้ำเงิน (Blue Line) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมต่อสมรรถนะและประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ในระดับมาก ( = 3.97 และ = 4.01) และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาคารสถานีรถไฟฟ้าที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาประสบการณ์ทำงาน และสังกัดหน่วยงาน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาคารสถานีรถไฟฟ้าแตกต่างกัน 2) สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาคารสถานีรถไฟฟ้า ได้แก่ สมรรถนะด้านทักษะ สมรรถนะด้านทัศนคติ และสมรรถนะด้านคุณลักษณะพึงประสงค์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาคารสถานีรถไฟฟ้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05