จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 7 )

การพัฒนาแนวทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ
การพัฒนาแนวทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ 4) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ และ 6) นำเสนอการพัฒนาแนวทางการตลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภค จำนวน 400 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้ประกอบการ จำนวน 12 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาการพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ประกอบอาชีพข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 30,001 – 40,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ 2) การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภค พบว่าประเภทผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อ ได้แก่ ไส้กรอกหมู หม่ำเนื้อ และปลาส้ม โดยมีเหตุผลในการเลือกซื้อเพราะรับประทานเองหรือรับประทานในครอบครัว ความถี่ในเลือกซื้อเดือนละ 1-2 ครั้งมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 101 -300 บาท และผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อคือ ตนเอง 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์และด้านบุคลากร 4) การเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้บริโภคที่เพศ อายุ อาชีพ ภูมิลำเนาแตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. 5) การเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จำแนกตามการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์พบว่า ผู้บริโภคที่มีเหตุผลในการเลือกซื้อ ความถี่ในการเลือกซื้อ ผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ 6) การนำเสนอการพัฒนาแนวทางการตลาด พบว่า การพัฒนามาตรฐานการผลิตด้วยเทคโนโลยีวัตถุดิบควรมีความสะอาดและปลอดภัย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายรูปแบบการตลาดออฟไลน์และออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลอีกทั้งการวางแผนการโฆษณาและจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงคุณภาพการให้บริการและการสร้างความประทับใจ

2566
การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี
การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สีและลวดลายผ้าเบี่ยงไหมขิด 2) ออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมขิด จังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าเบี่ยงไหมขิด และด้านการออกแบบลวดลาย จำนวน 5 ท่าน และสมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมขิด บ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แกแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สีและลวดลาย การใช้สี ประกอบด้วย 11 สี ได้แก่ สีครามจากต้นคราม สีแดงจากครั่ง สีเขียวจากใบสบู่เลือด สีชมพูจากไม้ฝาง สีเหลืองเข้มจากแก่นเข สีดำจากผลมะเกลือ สีทองจากดอกบัวแดง สีเงินจากก้านดอกบัวแดง สีน้ำตาลจากฝักคูน และสีเหลืองนวลจากผลทับทิม ส่วนลวดลายประกอบด้วย 9 ลาย ได้แก่ ลายกะปูอุ้มดาว ลายแมงงอด ลายหงส์ใหญ่ ลายพันมหา ลายหมากนัด ลายบายศรีอุ้มหน่วย ลายกาบอุ้มดาว ลายดาวจุ้ม และลายหงอนเงือก 2) การออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิด จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายขอหลง ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายตะเภาหลงเกาะ ผ้าเบี่ยงไหมขิดลายดอกพิกุล ผู้เชี่ยวชาญเลือก ลายขอหลงประเภทที่ 1 ลายตะเภาหลงเกาะประเภทที่ 2 และลายดอกพิกุลประเภทที่ 1 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบผ้าเบี่ยงไหมขิดบ้านหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สีและลวดลายมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.67 ด้านการออกแบบมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.85 และด้านผลิตภัณฑ์ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.82 ตามลำดับ

2567