จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 71 )

การวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการต้านทานของการเจาะทะลุของกระสุนบนแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
การวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการต้านทานของการเจาะทะลุของกระสุนบนแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการต้านทานการเจาะทะลุของกระสุนลงบนแผ่นเกราะกันกระสุน และวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายของแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะตามมาตรฐาน NIJ ระดับ 3 ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แผ่นเกราะสองแผ่นทำด้วยวัสดุสองชนิดได้รับการออกแบบและวิเคราะห์ กำหนดให้แผ่นแรกหรือแผ่นด้านหน้าที่กระสุนวิ่งเข้าปะทะทำด้วยวัสดุอลูมินาที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 95 และแผ่นที่สองคือวัสดุอลูมิเนียม 7075 T6 ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ANSYS Explicit/Dynamic โดยมีตัวแปรที่สำคัญคือความหนาของแผ่นเกราะ 6, 8 และ 10 มิลลิเมตร เนื่องจากวัสดุอลูมินาร้อยละ 95 ถูกจัดประเภทเป็นวัสดุแข็งและเปราะ ดังนั้นในกระบวนการวิเคราะห์จึงเลือกใช้ทฤษฎีความเสียหายของ Johnson-Holmquist (JH-2) สำหรับกระสุนทำมาจากทังสเตนคาร์ไบด์ที่มีขนาด 7.62x51 มิลลิเมตร ถูกนำมาใช้ในการจำลองด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ภายใต้รูปแบบความเสียหายของ Johnson-Holmquist Failure Model สำหรับวัสดุอลูมิเนียม 7075 T6 ถูกกำหนดให้ใช้แบบจำลองความเสียหาย Steinberg-Guinan StrengthModel และการวิเคราะห์ภายใต้สภาวะของการเปลี่ยนรูปขนาดใหญ่ (Large deformation) อัตราความเครียดสูง (High Strain rate) และภายใต้อุณหภูมิสูง (High Temperature) จึงใช้แบบจำลองความเค้น Johnson-Cook เพื่อทำนายผลวิเคราะห์ที่ความเร็วในการยิงกระสุน 850 เมตรต่อวินาทีตามมาตรฐาน NIJ 3 จากการวิเคราะห์พบว่าเกราะไม่สามารถต้านทานการเจาะเกราะของกระสุนได้แต่อาจทำให้ความเร็วของกระสุนลดลงอย่างมาก และเมื่อนำแผ่นเกราะอลูมินาและแผ่นเกราะอลูมิเนียมมาซ้อนทับกันที่ความหนาแผ่นละ 6 มิลลิเมตร พบว่าแผ่นเกราะอลูมินาสามารถทำลายหัวกระสุนได้และแผ่นอลูมิเนียมจะทำหน้าที่ในการดูดซับพลังงานและหยุดการเคลื่อนที่ของกระสุนไม่ให้ผ่านแผ่นเกราะไปได้ อีกทั้งรูปแบบความเสียหายด้วยวีธีการทดลองกับวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มีความสอดคล้องกัน จึงได้โมเดลไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อใช้ในการพัฒนาแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะต่อไป

2565
การวิเคราะห์ความเค้นและการเสียรูปของแผ่นเกราะโลหะแบบเรียงซ้อนกันโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
การวิเคราะห์ความเค้นและการเสียรูปของแผ่นเกราะโลหะแบบเรียงซ้อนกันโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเค้นและการเสียรูปของแผ่นเกราะโลหะแบบเรียงซ้อนกันและวิเคราะห์ความสามารถในการต้านทานการเจาะทะลุด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ตามมาตรฐาน NIJ ระดับ 3 โดยกระสุนขนาด 7.62x51 มิลลิเมตร ที่ความเร็ว 850 เมตรต่อวินาทีโปรแกรม ANSYS Explicit/Dynamic ถูกนำมาใช้ทำนายพฤติกรรมการเสียหายของแผ่นเกราะอลูมิเนียมกันกระสุนเกรด 7075 T6 และ 5083-H116 แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ได้รับการพิสูจน์ความถูกต้องกับผลการทดลองยิงด้วยกระสุนจริง ตัวแปรสำคัญคือค่าความหนาของแผ่นอลูมิเนียมและจำนวนชั้นที่มีการวางเรียงซ้อนกัน ซึ่งมีระยะห่างระหว่างแผ่นและไม่มีระยะห่างระหว่างแผ่นกำหนดให้กระสุนทังสเตนคาร์ไบด์ขนาด 7.62x51 มิลลิเมตร มีรูปแบบความเสียหายเป็นไปตามJohnson-Holmquist Failure Model (JH-1, JH-2) แผ่นเกราะมีขนาดความกว้างและความยาวเท่ากับ 30x30 เซนติเมตร โดยวัสดุ AL-7075 T6 มีสมบัติวัสดุเป็นไปตาม Steinberg-GuinanStrength และวัสดุ AL-5083-H116 เป็นไปตามรูปแบบของ Johnson-Cook Strength ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การเลือกชนิดของเอลิเมนต์และการแบ่งเอลิเมนต์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการวิเคราะห์ การใช้เทคนิคการแบ่งเอลิเมนต์มีความสำคัญโดยต้องทำการแบ่งเอลิเมนต์ให้มีขนาดเล็กตรงตำแหน่งกระสุนวิ่งเข้าปะทะกับแผ่นเกราะและต้องควบคุมให้เอลิเมนต์มีจำนวนไม่มากเกินไปในพื้นที่อื่นที่ไกลออกไปจากกระสุน จากการออกแบบให้แผ่นเกราะอลูมิเนียม AL-7075 T6 และ AL-5083-H116 มีความหนาและระยะห่างระหว่างแผ่นแตกต่างกันไปจะส่งผลต่อความสามารถในการต้านทานการเจาะทะลุ ตัวแปรที่มีผลต่อความสามารถต้านทานการเจาะทะลุที่สูงมากคือความหนาแผ่นเกราะและจำนวนชั้นของแผ่นเกราะ โดยระยะห่างระหว่างแผ่นเกราะมีผลต่อความต้านทานเจาะทะลุในระดับต่ำ

2565
การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหล
การศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหล

ระบบกระแสชนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการอบแห้งวัสดุอนุภาคที่มีความชื้นที่ผิวสูงโดยการศึกษาในส่วนแรกของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาทดลองค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของวัสดุอนุภาค ในการทดลองใช้เม็ดเรซินเป็นวัสดุทดลองซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.4 มิลลิเมตร โดยทำการศึกษาผลของตัวแปรต่างๆ ที่ส่งผลต่อค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาค ได้แก่ อัตราการป้อนวัสดุ ที่ 50 60 และ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงความเร็วอากาศขาเข้าที่ 20 25 และ 30 มิลลิเมตรต่อวินาที และมุมของท่ออากาศขาเข้าที่ 0 5 และ 10 องศา จากการทดลองพบว่า เมื่ออัตราการป้อนวัสดุ ความเร็วอากาศขาเข้าและมุมของท่ออากาศขาเข้าเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาคมีค่าเพิ่มขึ้น ในส่วนสุดท้ายของงานวิจัยนี้เป็นการจำลองพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอากาศและอนุภาคในระบบกระแสชนโดยใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ จากการศึกษาพบว่าการจำลองให้ผลการทำนายใกล้เคียงกับผลการทดลอง เมื่อความสูงของห้องกระแสชนและขนาดของวัสดุอนุภาคเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาคมีค่าเพิ่มขึ้น โดยค่าเวลาคงอยู่เฉลี่ยของอนุภาคในระบบมีค่ามากที่สุดที่ 1.93 วินาที ที่อัตราการป้อนวัสดุ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วอากาศขาเข้าที่ 30 มิลลิเมตรต่อวินาที และมุมของท่ออากาศขาเข้าที่ 10 องศา

2565
การจำลองการอบแห้งข้าวเปลือกในระบบอบแห้งกระแสชนแบบวิถีโค้ง
การจำลองการอบแห้งข้าวเปลือกในระบบอบแห้งกระแสชนแบบวิถีโค้ง

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจำลองการอบแห้งข้าวเปลือกในระบบอบแห้งกระแสชนแบบวิถีโค้ง ทั้งนี้อาศัยวิธีพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ ซึ่งแบบจำลองใช้ทำนายผลกระทบของตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ความเร็วของอากาศขาเข้า 20 และ 25 m/s อุณหภูมิของอากาศขาเข้า 7090 และ 110 °C อัตราการป้อนของข้าวเปลือก 20 35 และ56 kgdry solid/h และขนาดของห้องอบแห้ง50 ลิตร ที่ส่งผลต่อความชื้นสุดท้ายของข้าวเปลือก อัตราการระเหยน้ำเชิงปริมาตร สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตร และมีการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของผลกระทบจากขนาดของห้องอบแห้งที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า แบบจำลองสามารถให้ผลการทำนายค่าความชื้นสุดท้าย อัตราการระเหยน้ำเชิงปริมาตร และสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตรใกล้เคียงกับผลการทดลองที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ±10% ขณะที่ขนาดห้องอบแห้งที่ลดลงส่งผลให้อัตราการระเหยน้ำ และสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตรมีค่าเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราการระเหยน้ำเชิงปริมาตรสูงสุดมีค่าเท่ากับ 62.72 kgwater/m3h ที่ความเร็วอากาศขาเข้า 25 m/s อุณหภูมิของอากาศขาเข้า 110 ºCและอัตราการป้อนของวัสดุ 56 kgdry solid/h และขนาดห้องอบแห้ง 50 ลิตร ขณะที่สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเชิงปริมาตรสูงสุด มีค่าเท่ากับ 112.63 W/m3K ที่ความเร็วอากาศขาเข้า 25 m/sอุณหภูมิของอากาศขาเข้า 110 ºC อัตราการป้อนของวัสดุ 56 kgdry solid/h และขนาดห้องอบแห้ง 50 ลิตร

2565
การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง
การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง และ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 2 ขั้นตอน คือ 1) EDFR รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-DepthInterview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 19 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาสังเคราะห์ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง 2) EDFR รอบที่ 2 และรอบที่ 3 การตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเดิม ให้พิจารณาคำตอบและยืนยันความสอดคล้องของข้อมูลหาฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มโดยการคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง มากำหนดแนวโน้มในอนาคตของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลในพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) คุณสมบัติในเชิงพื้นที่ คือ 1.1) ชุมชนมีความหลากหลายและโดดเด่นทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ 1.2) ชุมชนมีความตระหนักรู้ในคุณค่าของชุมชนโดยเจ้าของวัฒนธรรม 2) คุณสมบัติในเชิงกระบวนการ คือ 2.1) นักท่องเที่ยวกับชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 2.2) นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม2.3) นักท่องเที่ยวเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพื้นที่ท่องเที่ยว 2.4) ไม่ทำลายคุณค่าของชุมชนแต่กลับนำไปสู่ความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม 2. การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 1) การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ 1.1) ด้านการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแผนงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ต้องอาศัยความพร้อมและความเข้มแข็งของสมาชิกในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ขับเคลื่อนแผนงาน 1.2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต โดยสิ่งสำคัญต้องให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนทั้งระบบ 1.3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่สืบทอดอย่างยาวนานรุ่นต่อรุ่นจากคนในท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ต้องอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป 1.4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม จะยังเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เมื่อชุมชนนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์มีนักท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในชุมชน 1.5) ด้านการบริการและความปลอดภัย ยังคงต้องได้รับการพัฒนาและแก้ปัญหา ทั้งส่วนของการให้ความรู้ การเพิ่มจำนวนบุคลากร อาสาสมัคร อุปกรณ์ที่จำเป็นด้านความ ปลอดภัยและสุขภาพ 2) การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือ 2.1) ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ต้องมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มแข็ง พยายามพัฒนาพื้นที่ สินค้า บริการและกิจกรรมท่องเที่ยว ให้มีความสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว 2.2) การตลาดเชิงสร้างสรรค์ ยังต้องพัฒนาการตลาด สินค้า บริการ และกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 2.3) การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์จากการเดินทางท่องเที่ยว มีความหลากหลาย การพัฒนายกระดับความสามารถของชุมชนให้มีสินค้าบริการ และกิจกรรมท่องเที่ยว นำเสนอออกมาในรูปแบบที่สร้างสรรค์ จะดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว โดยอาศัยนวัตกรรมสร้างสรรค์

2565