จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 71 )

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียน นักศึกษาสาขาอาหารและโภชนาการ
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียน นักศึกษาสาขาอาหารและโภชนาการ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) วิเคราะห์องค์ประกอบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารและครูที่มีการสอนหรือการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ ที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาในเขตภาคกลาง จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความสำคัญของรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลวิเคราะห์องค์ประกอบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 2.1) องค์ประกอบด้านสังคม Society ประกอบด้วย การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นมิตรต่อผู้ร่วมงาน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เสียสละประโยชน์ของตนเองเพื่อส่วนรวม 2.2) องค์ประกอบด้านความคิดสร้างสรรค์ Creative ประกอบด้วยมีความคิดสร้างสรรค์และการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างเป้าหมายและพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2.3) องค์ประกอบด้านการปรับเปลี่ยน Change ประกอบด้วย สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกสถานการณ์ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน และ 3)รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้ศึกษาพัฒนา ชื่อ “S2C Model” เป็นรูปแบบของกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสังคมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาตนเองและสร้างเป้าหมายให้กับธุรกิจ ด้วยการทำงานอย่างเป็นระบบขั้นตอนตามหลักการ PDCA เพื่อการปรับเปลี่ยนตนเองและธุรกิจให้เป็นไปได้ในทางที่ดี

2566
ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวสู่การออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร
ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวสู่การออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร

การศึกษาเรื่อง ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวสู่การออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวของจังหวัดสมุทรสงคราม 2) การออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาว 3) การออกแบบตัดชุดสตรีสไตล์เรโทร และ4) ความพึงพอใจที่มีต่อชุดสตรีสไตล์เรโทรโดยใช้ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีจากเปลือกตะบูนขาว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกต การทดลอง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเมินโดยผู้เชียวชาญและกลุ่มประชากร กลุ่มเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 34 คน ผลการศึกษาพบว่า ทุนวัฒนธรรมการย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกตะบูนขาวของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเปลือกไม้เขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม ให้สีน้ำตาลร่วมกับการใช้น้ำขี้เถ้าเป็นส่วนสำคัญในการเป็นสารช่วยติดสี การต้มสกัดสี และย้อมสี จึงทำให้ผ้ามัดย้อมจากเปลือกตะบูนขาวมีความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อน้ำ และความคงทนของสีต่อแสง ด้านการออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อมได้การมัดย้อมแบบซิโบริลายใบและดอกตะบูน ด้านการออกแบบตัดชุดสตรีสไตล์เรโทร ได้ชุดติดกันแบบกระโปรงวงกลม รูปแบบที่ 1 ชุดติดกันแบบ A-Line รูปแบบที่ 2 และเสื้อ กระโปรงรูปแบบที่ 1 ด้านลวดลายได้ผลการประเมิน มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ยที่ 4.60 ด้านการออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อการออกแบบชุดสตรีสไตล์เรโทร ชุดติดกันแบบกระโปรงวงกลม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.71

2566
การใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี
การใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี 3) การใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี 4) เปรียบเทียบการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่เคยเข้ามาใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดลพบุรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.25 มีอายุประมาณ 31 – 40 ปี ร้อยละ 40.00 โดยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 74.75 ที่มีอาชีพเป็นลูกจ้าง / พนักงานบริษัท ร้อยละ 35.00 ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 37.50 และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดลพบุรี ร้อยละ 100.00 2) ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดลพบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสรุปได้ว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่น (X̅ = 4.12) รองลงมาคือ ด้านบุคลากร (X̅ = 4.10) และน้อยที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (X̅ = 4.07) 3) โดยรวมผู้บริโภคเห็นด้วย (X̅ = 3.99) กับการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดลพบุรี ซึ่งด้านที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของผู้บริโภคที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับแรก คือ ด้านโอกาสที่ใช้บริการ (X̅ = 4.15) รองลงมาคือ ด้านประเภทของอาหารญี่ปุ่น (X̅ = 4.14) และน้อยที่สุด คือ ช่วงเวลาในการใช้บริการ (X̅ = 3.80) 4) ผู้บริโภคที่มีอายุ ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในจังหวัดลพบุรี ด้านประเภทของอาหารญี่ปุ่นแตกต่างกัน นอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดลพบุรี อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับค่อนข้างสูง

2566
การพัฒนาสื่อการสอนวิชาการตัดเย็บเบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
การพัฒนาสื่อการสอนวิชาการตัดเย็บเบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการสอน วิชาการตัดเย็บเบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อการสอน วิชาการตัดเย็บเบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้น โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการสอนวิชาการตัดเย็บเบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้น สำหรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี ที่เรียนวิชาการตัดเย็บเบื้องต้น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ใช้แบบประเมินคุณภาพสื่อการสอน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของสื่อการสอน วิชาการสร้างแบบตัด เบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.75/85.42 2) การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสร้างแบบตัดเบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้น หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอน วิชาการสร้างแบบตัดเบื้องต้น เรื่องการสร้างแบบตัดเบื้องต้นโดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.23, S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อการสอน (X̅ = 4.31, S.D. = 0.41) รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา (X̅ = 4.22, S.D. = 0.47) และ น้อยที่สุดคือ ด้านสื่อการสอน (X̅ = 4.16, S.D. = 0.44)

2566
แนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในการสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์  สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในการสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 4) แนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในการสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี ภาคปกติ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 300 คน จาก 5 สาขาวิชา โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบในส่วนงานด้านกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 5 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 19 – 20 ปี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สถานะในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นนักศึกษาทั่วไป กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เข้าร่วมมากที่สุด คือกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการ 2) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในการสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คือ เน้นการจัดกิจกรรมประเภทกีฬาและนันทนาการ ควรจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้นำโดยใช้เทคนิคการทำงานร่วมกัน ได้แสดงทัศนคติเห็นมุมมองของนักศึกษา อบรมเสริมสร้างการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ ความอดทน การแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ สร้างความมั่นใจในตนเองให้กับนักศึกษา

2566