จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 90 )

บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ในประเทศไทย
บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ในประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย กระบวนการจัดการ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ในประเทศไทย 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย กระบวนการจัดการ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ในประเทศไทย และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแปร ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ บุพปัจจัยที ่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือ พนักงานในระดับผู้บริหาร หรือพนักงานในระดับหัวหน้างานขึ้นไปที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว ในประเทศไทย จำนวน 271 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นคุณลักษณะความเป็นผู ้ประกอบการ และผลการดำเนินงานอยู ่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย กระบวนการจัดการ และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอยู ่ในระดับมากที่สุด โมเดลจำลอง สมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า Chi-Square =230.15, df =107, Relative Chi-Square =2.151, GFI =0.907, NFI =0.924, TLI =0.946, CFI =0.958, RMSEA =0.065 และ RMR =0.015 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าตัวแปร มาตรฐานความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย กระบวนการจัดการ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน และตัวแปรมาตรฐานความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย กระบวนการจัดการ และคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ ผลการดำเนินงานผ่านการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

2566
การบูรณาการบัญชีกับการบริหารสินทรัพย์เพื่อประสิทธิภาพการทํากําไรของรัฐวิสาหกิจพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย
การบูรณาการบัญชีกับการบริหารสินทรัพย์เพื่อประสิทธิภาพการทํากําไรของรัฐวิสาหกิจพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อิทธิพลของการบูรณาการบัญชีกับการบริหารสินทรัพย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำกำไรของรัฐวิสาหกิจพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย 2) วิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการบูรณาการบัญชีกับการบริหารสินทรัพย์เพื่อประสิทธิภาพการทำกำไรของรัฐวิสาหกิจพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และ 3) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการบูรณาการบัญชีกับการบริหารสินทรัพย์เพื่อประสิทธิภาพการ ทำกำไรของรัฐวิสาหกิจพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) จากรายงานประจำปี งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ข้อมูลจากรายงานความยั่งยืน และผลการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ 3 ด้าน คือ การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และการปฏิบัติงานและการจัดการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2565 จำนวน 13 ปี ที่แสดงอยู่ในเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบอนุกรมเวลา (Time Series Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) มูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์มีตัวตนระยะยาว (Long-Term Tangible Assets : LTA) มีอิทธิพลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำกำไร ด้านผลตอบแทน สินทรัพย์ (ROA) ทั้งการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในทิศทางตรงกันข้ามกันและยังมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำกำไร ด้านอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน (EBITDA) เฉพาะการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในทิศทางตรงกันข้ามกัน เช่นกัน ด้านมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์มีตัวตนระยะสั้น เฉพาะของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ส่งผลต่อด้านผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และด้านอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน (EBITDA) ในทิศทางเดียวกัน และมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เฉพาะของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ส่งผลต่อด้านผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ในทิศทางเดียวกัน 2) ทำให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาอุปสรรค สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำกำไรให้องค์กรได้เพิ่มขึ้น 3) นักบัญชีต้องสื่อสารข้อมูลผลการดำเนินงานให้บุคลากรทุกหน่วยงานได้เข้าใจถึงสถานการณ์ในปัจจุบันขององค์กรประสานงาน สื่อสาร และร่วมมือในการทำงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายการทำงานร่วมกัน

2566
การเลือกศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุพรรณบุรี
การเลือกศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุพรรณบุรี

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียน 2) การเลือกศึกษาต่อหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของนักเรียน และ 3) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของการเลือกศึกษาต่อหลักสูตร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2566 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 316 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เลือกศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.24 ที่เลือกเรียนแผนวิทย์- คณิต ร้อยละ 25.32 มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.51 ขึ้นไป ร้อยละ 47.46 ที่มีความถนัดและความชอบด้านเบเกอรี่ ร้อยละ 30.38 โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ร้อยละ 95.89 ซึ่งได้รับรู้ข่าวสารการศึกษาต่อผ่านช่องทาง Facebook และการแนะแนวศึกษาต่อของสถาบันการศึกษา ร้อยละ 23.73 และผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 15,001 - 25,000 บาท ร้อยละ 29.43 2) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ความสำคัญต่อการเลือกศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรีโดยรวม อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.29, S.D. = 0.682) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสรุปได้ว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร (X̅ = 4.33, S.D. = 0.616) รองลงมาคือ ด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย (X̅ = 4.32, S.D. = 0.682) และน้อยที่สุดคือ ด้านค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (X̅ = 4.23, S.D. = 0.633) และ 3) แผนการเรียน เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ความถนัดและความชอบเป็นพิเศษ และช่องทางการรับรู้ข่าวสารการศึกษาต่อของนักเรียนแตกต่างกัน มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ในจังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกันยกเว้นเพศ ภูมิลำเนา และรายได้ของผู้ปกครองเฉลี่ยต่อเดือนของนักเรียนแตกต่างกัน มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ในจังหวัดสุพรรณบุรีไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2566
บรรษัทภิบาล และการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน  ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บรรษัทภิบาล และการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรษัทภิบาลที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีและการวางแผนภาษีที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ที่ได้จากงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) แบบ 56-1 One Report และคะแนนผลการประเมินจากเว็บไซต์ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) จำนวน 192 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) บรรษัทภิบาลที่วัดค่าด้วยการกระจุกตัวของความเป็นเจ้าของ (OWN) การควบอำนาจในการบริหารของประธานกรรมการ (Dual CEO) ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 2) การวางแผนภาษีที่วัดค่าด้วย อัตราส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (ETR) อัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) และอัตราส่วนภาษีเงินได้ต่อสินทรัพย์รวม (TAX/ASSET) ส่งผลต่อการเติบโต อย่างยั่งยืน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05

2566
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกับคาร์บอนเครดิตจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนหลังคา
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกับคาร์บอนเครดิตจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนหลังคา

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกับคาร์บอนเครดิตจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนหลังคา วัตถุประสงค์วิทยานิพนธ์นี้เพื่อวิเคราะห์การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประเมินปริมาณและผลตอบแทนของคาร์บอนเครดิต การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนหลังคา เทคนิคที่ใช้ในวิทยานิพนธ์นี้ คือ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกับคาร์บอนเครดิต โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ทางการเงิน และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ระบบทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนหลังคาขนาด 149.80 กิโลวัตต์ และ 25.68 กิโลวัตต์ กรณีศึกษาแบ่งออกเป็น 4 กรณี กรณีที่ 1 การวิเคราะห์การผลิตพลังงานไฟฟ้า กรณีที่ 2 การประเมินคาร์บอนเครดิต กรณีที่ 3 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และกรณีที่ 4 การวิเคราะห์ผลประโยชน์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนหลังคาในพื้นที่เดียวกัน กรณีศึกษาย่อยการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 กรณีศึกษาย่อย กรณีศึกษาย่อยที่ 1 กรณีฐานไม่พิจารณาคาร์บอนเครดิต กรณีศึกษาย่อยที่ 2 กรณีศึกษาย่อยที่ 3 และกรณีศึกษาย่อยที่ 4 การพิจารณาคาร์บอนเครดิตเป็นเวลา 7 ปี 14 ปี และ 25 ปีตามลำดับ ดัชนีทางเศรษฐศาสตร์นำมาวิเคราะห์ ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน และระยะเวลาคืนทุน วิทยานิพนธ์นี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์แนวทางใหม่พิจารณาร่วมกับคาร์บอนเครดิตจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานบนหลังคา และเป็นการประยุกต์ใช้คาร์บอนเครดิตร่วมกับพลังงานหมุนเวียน

2566