จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 71 )

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะสำนักงานบัญชีทั่วไปเพื่อเข้าสู่การเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะสำนักงานบัญชีทั่วไปเพื่อเข้าสู่การเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะสำนักงานบัญชีทั่วไปและสำนักงานบัญชีคุณภาพ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะสำนักงานบัญชีไทยเพื่อเข้าสู่สำนักงานบัญชีคุณภาพ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะสำนักงานบัญชีทั่วไปเพื่อเข้าสู่การเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคเดลฟายโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน และใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดรอบที่ 1 พัฒนาไปสู่แบบสอบถามปลายปิดที่มี การตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง ในรอบที่ 2 และ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน โดยการใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม การจัดอันดับ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และพิจารณาความสอดคล้องจากแนวโน้มความเป็นไปได้ในระดับมากขึ้นไป เพื่อหาค่าความสอดคล้อง ข้อมูลที่ได้นาไปสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะสำนักงานบัญชีทั่วไปเพื่อเข้าสู่การเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยและใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตรวจสอบความ ถูกต้องของรูปแบบ ผลวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของสำนักงานบัญชีทั่วไปและสำนักงานบัญชีคุณภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีสาระสำคัญเนื่องจากถูกบังคับเกณฑ์มาตรฐานการรายงานทางการเงินจากสภาวิชาชีพและกรมพัฒนาธุรกิจ เมื่อพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงาน แต่วิธีและหลักเกณฑ์ในเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศทางการบัญชี และ 2.12) สภาพแวดล้อมในการทางาน และนำเอาผลสรุปที่ได้มาพัฒนารูปแบบสมรรถนะของสำนักงานบัญชีทั่วไปเพื่อเข้าสู่การเป็นสำนักงานบัญชีและความได้เปรียบทางการแข่งขันในภาพ 5.2 การปฏิบัติงานมีความแตกต่างกันในระดับปฏิบัติ รวมถึงความชัดเจนในรูปแบบการดำเนินงานของแต่ละสำนักงาน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะสำนักงานบัญชีทั่วไปเพื่อเข้าสู่การเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย ประกอบด้วยปัจจัยภายนอก ได้แก่ 2.1) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2.2) การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานรายงานทางการเงิน 2.3) การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและภาษีอากร 2.4) สภาวะการแข่งขัน 2.5) ความต้องการของลูกค้า ส่วนปัจจัยภายในได้แก่ 2.6) การปรับตัวของสำนักงานบัญชี 2.7) รูปแบบการดำเนินงาน 2.8) ประสิทธิภาพการบริหารเชิงกลยุทธ์ 2.9) การมุ่งเน้นการตลาด 2.10) คุณภาพการบริการ 2.11) ประสิทธิภาพเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศทางการบัญชี และ 2.12) สภาพแวดล้อมในการทำงาน และนำเอาผลสรุปที่ได้มาพัฒนารูปแบบสมรรถนะของสำนักงานบัญชีทั่วไปเพื่อเข้าสู่การเป็นสำนักงานบัญชีและความได้เปรียบทางการแข่งขันในภาพ 5.2

2565
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด และการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี จานวน 460 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การนับจานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์แบบจาลองสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่า การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า รูปแบบปัจจัยการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย มีความกลมกลืนกันกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 44.596 df = 62 p = 0.953 RMSEA = 0.000 CFI = 1.000 CMIN/DF = 0.719) โดยปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาด ทั้ง 23 ตัวแปร มีค่าน้าหนักองค์ประกอบเป็นบวก โดยมี ค่าระหว่าง 0.616-0.826 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โมเดลจาลองสมการเชิงโครงสร้างมีความกลมกลืนอย่างเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 157.445 df = 166 p = 0.670 RMSEA = 0.000 CFI = 1.000 CMIN/DF = 0.948) และความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ 1) การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 2) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 3) การมุ่งเน้นการตลาดส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 4) การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีส่งผลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดเพื่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 5) การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ในประเทศไทย 6) การมุ่งเน้นการเรียนรู้ส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ในประเทศไทย 7) การมุ่งเน้นการตลาดส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย 8) การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีส่งผลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย และ 9) การรับรู้ความสามารถทางนวัตกรรมด้านการตลาดส่งผลทางตรงต่อ การตัดสินใจใช้บริการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

2565
บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นการตลาด การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรมการบริการ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นการตลาด การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และนวัตกรรมการบริการ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแปร ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับข้อมูล เชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและหัวหน้างานของธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มี 5 ปัจจัย ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง การมุ่งเน้นการตลาด การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรมการบริการ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผลการวิจัยพบว่าธุรกิจโรงแรมให้ความสำคัญต่อการมุ่งเน้นการตลาดมากที่สุด โดยนาข้อมูลทางการตลาดมาวิเคราะห์ วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทาให้เกิดความพึงพอใจในการใช้บริการ มีทัศนคติที่ดีต่อ ตราสินค้า นำไปสู่ความภักดีต่อตราสินค้าของลูกค้า จึงเกิดการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน ส่วนการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเช่นกัน โดยเป็นกลไกสำคัญที่ใช้ในการบริหารจัดการที่สะท้อนถึงความสามารถของธุรกิจโรงแรม

2565
บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย
บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับนวัตกรรมขององค์กร ความผูกพันต่อองค์กร การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว คุณค่าแบรนด์ขององค์กรและผลการดำเนินงานขององค์กร 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมขององค์กร ความผูกพันต่อองค์กร การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว และคุณค่าแบรนด์ขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการ โลจิสติกส์ในประเทศไทย และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแปร ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยกับข้อมูล เชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารระดับต้นขึ้นไปของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย จำนวน 303 คน/บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้างผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นนวัตกรรมขององค์กร การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว และผลการดำเนินงานขององค์กรอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นความผูกพันต่อองค์กร และคุณค่าแบรนด์ขององค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด โมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมี ความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าดัชนี ความสอดคล้องทางสถิติ 2/df =1.307, p =0.078, CFI =0.995, TLI =0.990, GFI =0.973, RMSEA =0.032, RMR =0.014 และมีความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ได้กำหนดไว้ นวัตกรรมขององค์กร และคุณค่าแบรนด์ขององค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 ความผูกพันต่อองค์กร และการจัดการโลจิสติกส์ สีเขียว มีทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 นอกจากนี้ นวัตกรรมขององค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และการจัดการโลจิสติกส์สีเขียว มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานขององค์กรผ่านคุณค่าแบรนด์ขององค์กรอย่างมีระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.001

2565
ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีต่อผลประกอบการบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีต่อผลประกอบการบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลประกอบการบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่ส่งผลต่อผลประกอบการบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการเก็บข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 547 บริษัท การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณผลการวิจัยประกอบด้วย 1) ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม และมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 0.05 2) สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์ คือ สัดส่วนการถือหุ้นที่ถือโดยผู้บริหาร (Stock) สัดส่วนของกรรมการอิสระ (PID) ขนาดของคณะกรรมการบริษัท (BSize) การควบอำนาจในการบริหารของประธานกรรมการ (DualCEO) สัดส่วนในการเข้าประชุมของคณะกรรมการบริษัท (PDBM) การเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรความยุติธรรม (CSR) ที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 และการวิเคราะห์ตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของบริษัท (Size) และอัตราส่วนระหว่างกระแสเงินสดของบริษัทต่อทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการ (CFO/TA) ที่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

2565