จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 86 )

ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) และทุนทางปัญญา ส่งผลต่อความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล (ESG) และทุนทางปัญญา ส่งผลต่อความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 145 บริษัท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษานี้ พบว่า คะแนนการกำกับดูแลกิจการ สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีอิทธิพล ระหว่างกันในทิศทางตรงข้ามกับทุนทางปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สัดส่วนคณะกรรมการอิสระ มีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางเดียวกับทุนทางปัญญา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประสิทธิภาพสินทรัพย์ลงทุน โครงสร้างเงินทุนมีอิทธิพลระหว่างกันในทิศทางเดียวกับความสามารถทำกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

การพัฒนากระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยวด้วยกระบวนการวิเคราะห์ ปัจจัยการผลิต 4M กรณีศึกษา บริบทเครนคานเดี่ยว
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยการผลิต 4M กรณีศึกษา บริบทเครนคานเดี่ยว บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัดกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้แผนภูมิกระบวนการไหล (Process Flow Charts) 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว จากพนักงานแผนกการผลิตที่บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จำนวน 12 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ 3) เพื่อปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้หลักการ PDCA ประชากร คือ พนักงานที่บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานแผนกการผลิตที่บริษัท เค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จำนวน 12 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of item Objective Congruence : IOC ) ระหว่างนิยามศัพท์กับข้อคำถามตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว มีขั้นตอนการผลิตทั้งหมด 36 ขั้นตอน และใช้เวลาในกระบวนการผลิต 2,080 นาที หรือ 34 ชั่วโมง 40 นาที ในการผลิตเครนคานเดี่ยว 2) ผลการศึกษาสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว พบว่า ภาพรวมสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.69, . . S D =1.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเครื่องจักร (Machine) อยู่ในระดับมาก ( X =3.66, . . S D =0.75) ด้านคน (Man) อยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.72, . . S D =0.87) ด้านวัสดุ (Material) อยู่ในระดับปานกลาง ( X =2.64, S.D.=1.11) และด้านวิธีการ (Method) อยู่ในระดับน้อย ( X =1.91, S.D.=0.65) และ 3) ผลการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยว โดยใช้หลักการ PDCA พบว่า จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เกิดความต่อเนื่องในการผลิต เพื่อลดเวลาการว่างงาน และรอคอยให้น้อยลง กระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยวของบริษัทเค.ซี.ไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กรณีศึกษา มีขั้นตอนการผลิตก่อนปรับปรุง 36 ขั้นตอน ลดลงเหลือ 26 ขั้นตอน ซึ่งคิดเป็น 27.78% ซึ่งส่งผลให้เวลาในกระบวนการผลิตเครนคานเดี่ยวก่อนปรับปรุง 2,080 นาที หรือ 34 ชั่วโมง 40 นาที ลดลงเหลือ 1,970 นาที หรือ 32 ชั่วโมง 50 นาที ซึ่งคิดเป็น 5.29% สามารถลดต้นทุนแรงงานได้ต่อปีประมาณ 605,022 บาทต่อปี

การพัฒนาระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสำหรับการบริการลูกค้าบริษัท กรณีศึกษา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิด แบบลีนสาหรับบริการลูกค้า และ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้ระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติ ตามแนวคิดแบบลีนสำหรับการบริการลูกค้า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้ข้อมูล จานวน 9 คน และกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติ จานวน 40 คน โดยทำการสุ่ม ตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย ระบบตอบกลับอัตโนมัติ เพื่อบริการตอบ คำถามลูกค้าผ่านทางกล่องข้อความไลน์ จึงออกแบบกระบวนการใหม่ด้วยการนาระบบแชทบอท มาประยุกต์ใช้ในงานบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังคงเป็นไปตามหลักการบริการ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสำหรับบริการที่ พัฒนาขึ้น มีการบริการข้อมูล 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ส่วนการออกแบบ ติดตั้งเครน 2) ส่วนสั่งซื้อ สินค้า อุปกรณ์อะไหล่และบริการเสริม และ 3) ส่วนแจ้งซ่อม และเมื่อทาการประเมินคุณภาพของ ระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนสาหรับการบริการลูกค้าสามารถสนับสนุนและ รองรับการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ( xˉ =4.31,S.D.=0.87) และ 2) ผู้ใช้งานระบบตอบกลับแบบอัตโนมัติตามแนวคิดแบบลีนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของบริษัทมีความพึงพอใจต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก ( xˉ =4.42,S.D.=0.58)

การวิเคราะห์ความแข็งแรงและความเสียหายของกันชนรถยนต์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความแข็งแรงของกันชนรถยนต์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โปรแกรม ANSYS เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์แบบ Static Structural ในช่วงยืดหยุ่นเชิงเส้นโดยพิจารณาจากความเค้นครากเป็นหลัก โครงสร้างกันชนแบ่งออกเป็นสองส่วน ประกอบด้วยกันชนและส่วนแขนยึดกันชน จากการวิเคราะห์พบว่าถ้าแขนของกันชนซึ่งเป็นชิ้นส่วนยึดระหว่างกันชนกับตัวถังรถยนต์ยาวเท่าใดจะส่งผลให้เกิดการเสียรูปได้ง่ายขึ้น ตำแหน่งการยึดด้วยสลักเกลียวระหว่างกันชนกับแขนยึดกันชนจะเป็นตำแหน่งที่เสียรูปได้ง่ายและเมื่อพิจารณาตำแหน่งการยึดระหว่างแขนยึดกันชนกับตัวถังรถยนต์พบว่าจุดนี้เป็นจุดที่สำคัญแต่ด้วยมีจำนวนสลักเกลียวและพื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าจึงมีการเสียรูปยากกว่าตำแหน่งที่ยึดกันระหว่างกันชนกับแขนยึดกันชน ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการเสียรูป ประกอบด้วย แรงที่กระทำ ชนิดของแรง ทิศทางและตำแหน่งของแรง ความหนา รูปร่าง จุดจับยึด จากการออกแบบและวิเคราะห์ส่งผลให้สามารถนำโมเดลไปวิเคราะห์ต่อในรูปแบบ Explicit Dynamic ได้ การวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ถูกเลือกให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจำลองผลการวิเคราะห์ในรูปแบบการวิเคราะห์แบบ Explicit Dynamic ด้วยโปรแกรม ANSYS สำหรับแขนยึดกันชนรถยนต์เข้ากับตัวถังรถยนต์เป็นวัสดุสตรักเชอรัลสตีล (Structural Steel) ในการจำลองทางไฟไนต์เอลิเมนต์แบบไม่เชิงเส้นนี้จะต้องกำหนดวัสดุสตรักเชอรัลสตีล ให้มีสมบัติวัสดุเป็นไปตาม Steinberg-Guinan Strength การวิเคราะห์จะต้องทำการควบคุมขนาดเอลิเมนต์ และกำหนด Time Step ที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ กันชนรถยนต์จะได้รับแรงปะทะใน 3 ทิศทาง ประกอบด้วย 1) แรงปะทะด้านหน้าโดยตรง 2) แรงประทะด้านหน้าครึ่งเดียว และ 3) แรงปะทะทำมุมกับทิศทางการเคลื่อนที่ของรถยนต์ จากการวิเคราะห์พบว่าแรงปะทะทั้ง 3 รูปแบบด้วยความเร็วทดสอบที่ 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมงส่งผลให้เกิดการเสียรูปโดยตรงต่อกันชนรถยนต์ ดังนั้นจึงทำการออกแบบกันชนรถยนต์โดยพิจารณาจากความหนา รูปร่าง รวมทั้งการออกแบบจุดจับยึด และทำการวิเคราะห์จนกระทั่งได้รูปแบบกันชนที่เหมาะสมและสามารถนำไปสู่การผลิตจริงต่อไป

การศึกษาการลดความชื้นดีปลีด้วยเครื่องอบแห้งแบบถาด
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและความเร็วลมร้อนที่มีต่อจลนพลศาสตร์ พลังงาน และเอกเซอร์จีของการอบแห้งดีปลี ด้วยเครื่องอบแห้งแบบถาด พร้อมทั้งศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับทำนายการลดความชื้นของดีปลี ในการทดลองใช้ดีปลีที่มีความชื้นเริ่มต้นประมาณร้อยละ 246-253 (d.b.) เงื่อนไขการทดลองใช้อุณหภูมิลมร้อน 70 75 และ 80ºC และความเร็วลมร้อน 0.5 0.7 และ 1.0 m/s การวิเคราะห์ประสิทธิภาพพลังงานอาศัยกฎข้อที่่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ และประยุกต์ใช้กฎข้อที่่สองของอุณหพลศาสตร์ ในการวิเคราะห์เอ็กเซอร์จีที่ไหลเข้าเอ็กเซอร์จีที่ไหลออก เอ็กเซอร์จีสูญเสีย จากการทดลองพบว่าการอบแห้งดีปลีที่อุณหภูมิลมร้อน 80ºC ความเร็วลมร้อน 1.0 m/s ทำให้ความชื้นลดลงได้เร็วกว่าการอบแห้งที่เงื่อนไขอื่น ๆ การลดลงของความชื้นลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงแรกของการอบแห้ง หลังจากนั้นความชื้นลดลงอย่างช้า ๆ การเพิ่มอุณหภูมิลมร้อนมีผลทำให้ประสิทธิภาพพลังงาน และประสิทธิภาพเอ็กเซอร์จีเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความเร็วลมร้อน ไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพพลังงานและประสิทธิภาพเอ็กเซอร์จี ค่าประสิทธิภาพ พลังงานสูงสุดเท่ากับร้อยละ 22.56 และค่าประสิทธิภาพเอ็กเซอร์จีสูงสุดเท่ากับร้อยละ 93.35 ในส่วนของแบบจำลองเอมพิริคัลสามารถทำนายอัตราส่วนความชื้นการอบแห้งได้ดี โดยทุกเงื่อนไขการทดลองสรุปว่าแบบจำลองของ Midilli et al. สามารถทำนายคุณลักษณะการอบแห้งได้เหมาะสมมีค่าความแม่นยำและใกล้เคียงกับผลการทดลองมากที่สุด เพราะว่าค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) สูงสุด โดยมีค่า R2 ระหว่าง 0.9969 – 0.9997 และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) มีค่าต่าสุด โดยมีค่า RMSE ระหว่าง 0.0062 – 0.0159