จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 90 )

การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร  ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่
การศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ เครื่องมือ ที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบร่างการออกแบบชุด 3 กลุ่มที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอีโมจิ 3 อันดับแรกที่ถูกใช้มากที่สุดในปี 2021 คือ อีโมจิหัวเราะทั้งน้ำตา อีโมจิหัวใจ และอีโมจิไฟลุก โดยอ้างอิงโครงชุดจากกระแสแฟชั่น Y2K ซึ่งเป็นแนวโน้มกระแสแฟชั่นของฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนปี 2022 2) ต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุดจริง 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชุดลำลองสตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการศึกษาและพัฒนาชุดลำลองสตรีจากผ้าย้อมครามธรรมชาติจังหวัดสกลนคร ด้วยเทคนิคการแอพพลิเค่ ได้แก่ Designer, Merchandiser, Visual Merchandiser และ Graphic Designer ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีดำเนินการ คือ ร่างแบบชุดลำลอง 3 กลุ่มแล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกเพียง 1 กลุ่ม สำหรับตัดเย็บจริงแล้วนำไปสอบถามความ พึงพอใจกับกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษา พบว่า แบบร่างการออกแบบชุดลำลองที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจาก ผู้เชี่ยวชาญคือ ชุดลำลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอีโมจิไฟลุก ซึ่งเป็นชุดที่มีความทันสมัย มีลูกเล่นที่ น่าสนใจ ตลอดจนวิธีการวางองค์ประกอบของลวดลาย ทำได้เรียบง่าย สะอาดตา จึงทำให้เสื้อผ้าน่า สวมใส่ ไม่ดูมากหรือน้อยเกินไป สามารถนำมา mixed & matched ได้เหมาะสม กลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งหมด 30 คน พบว่า มีเพศหญิง 15 คน และเพศชาย 15 คน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36 - 40 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ Designer รายได้ระหว่าง 35,001 – 45,000 บาท และมี การศึกษาระดับปริญญาตรี ผลความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ ในด้านรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านสี อยู่ในระดับ มากที่สุด มีความพึงพอใจในด้านลวดลาย อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในด้านวิธีการ แอพพลิเค่ อยู่ในระดับมากที่สุด

2565
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้ำตาล
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้ำตาล

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูปของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาสูตรพื้นฐานเครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูป 3) ศึกษาปริมาณสารให้ความหวานฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (Fructooligosacharide, FOS) ทดแทนน้ำตาลทรายบางส่วนในเครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้ำตาล 4) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการในเครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้ำตาล และ 5) ศึกษาการยอมรับของ ผู้บริโภค ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มชานมอยู่ที่ 1 - 3 แก้วต่อสัปดาห์ซื้อยี่ห้อ Mr. Shake มากที่สุด มีค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งประมาณ 41 - 60 บาท มักซื้อในร้านขายเครื่องดื่มชานม โดยซื้อดื่ม เนื่องจากมีรสชาติอร่อย ซึ่งอิทธิพลต่อตัดสินใจซื้อมาจากตนเอง ส่วนใหญ่เคยซื้อเครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูป ยี่ห้อ NESTEA จาก Tops supermarkets ให้ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ภาพรวมในระดับมาก ผลการทดสอบสูตรพื้นฐานเครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูป พบว่าสูตรที่ได้รับการยอมรับจากผู้ทดสอบ ชิมมากที่สุด คือสูตร1 ดัดแปลงจากผลิตภัณฑ์ทางการค้ายี่ห้อ NESTEA (9 –points hedonic scale) ซึ่งมีส่วนผสมของผงชาดำ ร้อยละ 2.3 ครีมเทียมร้อยละ 34 น้ำตาลร้อยละ 30 นมผงพร่องมันเนย ร้อยละ 17 ด้วยคะแนนความชอบระดับมาก เครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูปที่ใช้ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ทดแทนความหวานจากน้ำตาลทรายในสูตรที่มีอัตราส่วนน้ำตาลทรายต่อฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ ปริมาณ 50:50 โดยน้ำหนัก เป็นสูตรที่ได้รับคะแนนความชอบมากกว่าอัตราส่วน 25:75 และ 0:100 โดยน้ำหนัก (p≤0.05) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้ำตาลที่ได้ เมื่อนำไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการปริมาณ 100 กรัม แบบผงมีโปรตีน 5.49 กรัม ไขมัน 17.86 กรัม คาร์โบไฮเดรต 72.60 กรัม น้ำตาล 30.15 กรัม และแบบเครื่องดื่มชงสำเร็จ มีโปรตีน 2.08 กรัม ไขมัน 3.39 กรัม คาร์โบไฮเดรต 13.55 กรัม และน้ำตาล 5.15 กรัม ผลการศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้ำตาล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 25 คิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ โดยให้การยอมรับร้อยละ 100 ควรจัดจำหน่ายเครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้ำตาลที่ผ่านมาตรฐานการผลิตระดับสากล ในบรรจุภัณฑ์ขนาด 30 กรัม/ซอง และบรรจุ 10 ซอง/แพ็ค ผู้บริโภคร้อยละ 66 ตัดสินใจซื้ออย่างแน่นอน และควรวางจำหน่ายเครื่องดื่มชานมกึ่งสำเร็จรูปสูตรลดน้าตาลในร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ท

2565
อนาคตภาพความสำเร็จของงานตรวจสอบภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566-2575)
อนาคตภาพความสำเร็จของงานตรวจสอบภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566-2575)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงานตรวจสอบภายในและเสนออนาคตภาพความสำเร็จของงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติในอนาคต 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2566-2575) โดยผลงานชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยการสังเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบภายในทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และพิจารณาค่าความสอดคล้องของ มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อหาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญผลการวิจัย พบว่า อนาคตภาพความสำเร็จของงานตรวจสอบภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในอนาคต 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2566-2575) ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก 14 ปัจจัยสนับสนุนปัจจัยหลักประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยกลยุทธ์ภายในองค์กรมีทั้งสิ้น 6 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ บุคลากร การปฏิบัติงานตรวจสอบ ระบบสารสนเทศ โครงสร้างองค์กร นโยบาย เป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร และการพัฒนาองค์กร เพื่อมุ่งเน้นประสิทธิภาพการตรวจสอบอย่างเป็นระบบและมีความยืดหยุ่น 2) ด้านปัจจัยคุณภาพงานตรวจสอบภายในมีทั้งสิ้น 3 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความคาดหวังของผู้บริหาร ความคาดหวังของผู้รับบริการ ความคาดหวังด้านคุณภาพของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล เพื่อมุ่งเน้นความพึงพอใจประสิทธิภาพในการให้บริการที่สะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ 3) ด้านปัจจัยความสำเร็จในการตรวจสอบภายในมีทั้งสิ้น 5 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คุณลักษณะของบุคลากร วัฒนธรรมองค์กร ระบบสารสนเทศการทำงานเป็นทีมและนโยบาย โดยมุ่งเน้นความสำเร็จของงานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงานและการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ให้ประสบความสำเร็จตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและบรรลุเป้าหมาย กำกับดูแล และกำหนดนโยบายที่เหมาะสม สอดคล้องกับ “IA SSQ MODEL” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้สำหรับการบริหารและการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการตรวจสอบภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ความสำคัญกับ 9 ด้าน

2565
การออกแบบและวิเคราะห์แม่พิมพ์โลหะเพื่อขึ้นรูปยางรันแฟลทสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
การออกแบบและวิเคราะห์แม่พิมพ์โลหะเพื่อขึ้นรูปยางรันแฟลทสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

การออกแบบและวิเคราะห์แม่พิมพ์โลหะที่ใช้ในกระบวนการขึ้นรูปวงล้อนิรภัยสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนการกระจายตัวของความร้อน การสูญเสียความร้อนของแม่พิมพ์โลหะและวงล้อนิรภัย โดยใช้โปรแกรม SolidWorks ออกแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์และประกอบแม่พิมพ์เข้าด้วยกัน โดยเลือกใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ด้วยโปรแกรม SolidWorks Simulation เพื่อสร้างแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับแม่พิมพ์โลหะและวงล้อนิรภัยสามมิติ ในกระบวนการอัดขึ้นรูปวงล้อนิรภัยรันแฟลท แม่พิมพ์โลหะจะได้รับความร้อนที่ถูกส่งผ่านมาจากแท่นอัดที่มีการติดตั้งแท่งฮีตเตอร์อยู่ภายใน แม่พิมพ์ถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้ความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 300 องศาเซลเซียส วัสดุ SKD11 เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่มีสมบัติทางกลและสมบัติทางความร้อนทเี่ หมาะสมสำหรับการผลิตเป็นแม่พิมพ์จึงถูกเลือกนำมาใช้ผลิตเป็นแม่พิมพ์โลหะและใช้ในการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อน แม่พิมพ์ยังได้รับการออกแบบให้สามารถวางโครงสร้างโลหะกันสนิมอยู่ภายในแม่พิมพ์เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับวงล้อนิรภัยรันแฟลทและใช้ในการจับยึดวงล้อนิรภัยรันแฟลทเข้าด้วยกัน ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แสดงให้เห็นการถ่ายเทความร้อน การกระจายตัวของความร้อนและการสูญเสียความร้อนในแม่พิมพ์และวงล้อนิรภัย เมื่อความร้อนได้ถูกส่งผ่านจากแม่พิมพ์ไปยังผงพอลิเมอร์คอมโพสิตหรือเนื้อยางคอมโพสิตซึ่งถูกบรรจุอยู่ในแม่พิมพ์จะส่งผลให้เกิดการหลอมเหลวของผงพอลิเมอร์คอมโพสิตหรือเนื้อยางคอมโพสิต ผงพอลิเมอร์คอมโพสิตหรือเนื้อยางคอมโพสิตที่หลอมเหลวจะเข้าห่อหุ้มโครงเหล็กกันสนิมทำให้เกิดนวัตกรรมวงล้อนิรภัยที่มีความแข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการสูญเสียความร้อนที่ภายนอกแม่พิมพ์ซึ่งไม่ส่งผลต่อการกระจายตัวของความร้อนภายในแม่พิมพ์ ในการนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์จะต้องทำการหล่อเย็นแม่พิมพ์เพื่อลดอุณหภูมิเสียก่อนจึงจะสามารถนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ได้

2565
การวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการต้านทานของการเจาะทะลุของกระสุนบนแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
การวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการต้านทานของการเจาะทะลุของกระสุนบนแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พารามิเตอร์ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการต้านทานการเจาะทะลุของกระสุนลงบนแผ่นเกราะกันกระสุน และวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายของแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะตามมาตรฐาน NIJ ระดับ 3 ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ แผ่นเกราะสองแผ่นทำด้วยวัสดุสองชนิดได้รับการออกแบบและวิเคราะห์ กำหนดให้แผ่นแรกหรือแผ่นด้านหน้าที่กระสุนวิ่งเข้าปะทะทำด้วยวัสดุอลูมินาที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 95 และแผ่นที่สองคือวัสดุอลูมิเนียม 7075 T6 ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ANSYS Explicit/Dynamic โดยมีตัวแปรที่สำคัญคือความหนาของแผ่นเกราะ 6, 8 และ 10 มิลลิเมตร เนื่องจากวัสดุอลูมินาร้อยละ 95 ถูกจัดประเภทเป็นวัสดุแข็งและเปราะ ดังนั้นในกระบวนการวิเคราะห์จึงเลือกใช้ทฤษฎีความเสียหายของ Johnson-Holmquist (JH-2) สำหรับกระสุนทำมาจากทังสเตนคาร์ไบด์ที่มีขนาด 7.62x51 มิลลิเมตร ถูกนำมาใช้ในการจำลองด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ภายใต้รูปแบบความเสียหายของ Johnson-Holmquist Failure Model สำหรับวัสดุอลูมิเนียม 7075 T6 ถูกกำหนดให้ใช้แบบจำลองความเสียหาย Steinberg-Guinan StrengthModel และการวิเคราะห์ภายใต้สภาวะของการเปลี่ยนรูปขนาดใหญ่ (Large deformation) อัตราความเครียดสูง (High Strain rate) และภายใต้อุณหภูมิสูง (High Temperature) จึงใช้แบบจำลองความเค้น Johnson-Cook เพื่อทำนายผลวิเคราะห์ที่ความเร็วในการยิงกระสุน 850 เมตรต่อวินาทีตามมาตรฐาน NIJ 3 จากการวิเคราะห์พบว่าเกราะไม่สามารถต้านทานการเจาะเกราะของกระสุนได้แต่อาจทำให้ความเร็วของกระสุนลดลงอย่างมาก และเมื่อนำแผ่นเกราะอลูมินาและแผ่นเกราะอลูมิเนียมมาซ้อนทับกันที่ความหนาแผ่นละ 6 มิลลิเมตร พบว่าแผ่นเกราะอลูมินาสามารถทำลายหัวกระสุนได้และแผ่นอลูมิเนียมจะทำหน้าที่ในการดูดซับพลังงานและหยุดการเคลื่อนที่ของกระสุนไม่ให้ผ่านแผ่นเกราะไปได้ อีกทั้งรูปแบบความเสียหายด้วยวีธีการทดลองกับวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มีความสอดคล้องกัน จึงได้โมเดลไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อใช้ในการพัฒนาแผ่นเกราะเซรามิกส์ร่วมกับแผ่นเกราะโลหะต่อไป

2565