จำนวนวิทยานิพนธ์ ( 76 )

แนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในการสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 4) แนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในการสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี ภาคปกติ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 300 คน จาก 5 สาขาวิชา โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบในส่วนงานด้านกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 5 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 19 – 20 ปี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สถานะในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นนักศึกษาทั่วไป กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เข้าร่วมมากที่สุด คือกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการ 2) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรในการสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คือ เน้นการจัดกิจกรรมประเภทกีฬาและนันทนาการ ควรจัดกิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้นำโดยใช้เทคนิคการทำงานร่วมกัน ได้แสดงทัศนคติเห็นมุมมองของนักศึกษา อบรมเสริมสร้างการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ ความอดทน การแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ สร้างความมั่นใจในตนเองให้กับนักศึกษา

การพัฒนาสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การสร้างสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้าน คหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะ กับด้านกลยุทธ์การสื่อสารในการพัฒนาสื่ออินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยและ 3) พัฒนารูปแบบสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดตามช่องยูทูปด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย จำนวน 14 เพจ ซึ่งมีผู้ติดตามตั้งแต่ 1.58 หมื่นคน ถึง 2.54 แสนคน และเคยเข้ารับชมสื่อออนไลน์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่ม ของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ระดับความ คลาดเคลื่อน ± ร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญด้วยความสมัครใจเพื่อให้ได้ตรงตามจำนวนที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาสภาพการณ์การสร้างสื่อของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา รายได้ 20,001-30,000 บาท สถานภาพโสด เลือกชมสื่องานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยผ่านช่องทางยูทูป เรื่องมาลัยสองชาย ดูผ่านสื่อออนไลน์น้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และปัจจัยที่เลือกชมงานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยคือ ด้านการสร้างสรรค์ สำหรับระดับความสำคัญด้านคุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความเคารพ ด้านความไว้วางใจ ด้านความดึงดูดใจ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนระดับความสำคัญด้านกลยุทธ์การสื่อสารของอินฟลูเอนเซอร์ด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมาก ไปน้อย คือ ด้านการปฏิสัมพันธ์ ด้านประโยชน์ ด้านเนื้อหา ด้านการสร้างสรรค์ และด้านความ เฉพาะเจาะจง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์กับ กลยุทธ์การสื่อสารด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย พบว่า มีตัวแปรทำนาย 5 ตัว คือ ด้านความเชี่ยวชาญ ด้านความไว้วางใจ ด้านความดึงดูดใจ ด้านความเคารพ และด้านความเหมือนกับกลุ่มเป้าหมาย สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณลักษณะของอินฟลูเอนเซอร์ในการพัฒนาสื่อด้านคหกรรมศาสตร์ งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีอำนาจทำนายประมาณ ร้อยละ 42.60 และผลการพัฒนารูปแบบสื่อด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างสื่อประเภทยูทูปด้านคหกรรมศาสตร์งานประดิษฐ์เอกลักษณ์ไทยประเภท ดอกไม้สด เรื่อง การประดิษฐ์มาลัยร้อยรัก โดยใช้เทคนิคการบรรยายด้วยภาพ ความยาว 8 นาที โดย นำไปเผยแพร่ในช่องทาง ยูทูป 3 เพจ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ มีผู้รับชมรวม 294 คน กดถูกใจ like รวม 125 คน กดติดตาม รวม 93 คน และให้คำแนะนำหรือมีข้อคำถาม รวม 1 คน

ปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 2) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 200 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.51 – 4.00 โดยสาขาวิชาที่เลือกศึกษา คือ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัว 10,001 – 15,000 บาท และพักอาศัยอยู่หอพัก/คอนโดมิเนียม 2) นักศึกษาให้ความสำคัญต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านครูผู้สอน รองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์ของคณะ และน้อยที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวก และ 3) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ อายุ คะแนนเฉลี่ยสะสม และรายได้เฉลี่ยของครอบครัว ไม่มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้น สาขาวิชาที่ศึกษา และที่พักอาศัยของนักศึกษา มีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

แนวทางการพัฒนาธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่าของผู้ประกอบการรายย่อย ในตลาดนัดกลางคืน กรุงเทพมหานคร
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการรายย่อยธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่า 2) ศึกษาการดำเนินธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่าของผู้ประกอบการรายย่อย 3) หาความสัมพันธ์การดำเนินธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่าของผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดนัดกลางคืน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่าของผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดนัดกลางคืน กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการรายย่อยธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่าในตลาดนัดกลางคืน กรุงเทพมหานคร โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 – 40 ปี มีสถานภาพสมรสคือโสด ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000 – 45,000 บาท มีวัตถุดิบหลักที่ได้รับความนิยมคือ เนื้อสัตว์/เครื่องในสด ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหารคือ มีการดูแลรักษาความสะอาดภายในร้านอย่างสม่ำเสมอ ถังขยะภายในร้านมีฝาปิดมิดชิด และมีการรักษามาตรฐานวัตถุดิบให้คงคุณภาพสดใหม่ ช่วงระยะเวลาที่จำหน่ายได้มากที่สุดคือ เวลา 18.00 น. – 20.00 น. รูปแบบค่าเช่าร้านคือ สัญญาเช่ารายเดือน ทำเลที่ตั้งของร้านให้ความสำคัญคือ มีชื่อร้านเป็นเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ร้านจำง่าย กลยุทธ์การขายให้ความสำคัญคือ มีการจัดวางวัตถุดิบเดียวกันให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน แยกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน เพื่อให้สะดวกต่อการเลือกซื้อ และต้นทุนเฉลี่ยต่อวันคือ 3,001 – 4,500 บาท ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ มีความสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่าของผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดนัดกลางคืน กรุงเทพมหานคร พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับทำเล ที่ตั้งของร้าน สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่าเช่าร้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และแนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจอาหารปิ้งย่างหม่าล่าของผู้ประกอบการรายย่อย มีดังนี้ 1) ควรเลือกวัตถุดิบที่มีความสะอาด สดและใหม่ 2) ควรดูแลความสะอาดสถานที่และอุปกรณ์อาหารอย่างสม่ำเสมอ 3) จัดทำป้ายชื่อร้านให้เห็นชัดเจน 4) ควรเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายทางสื่อออนไลน์มากขึ้น และมีการจัดทำบัญชีเงินหมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอ

การพัฒนาสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็ก จากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)หาประสิทธิภาพของสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็กจากลูกปัด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน ราชบพิธ 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็กจากลูกปัด สำหรับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนประเภทเครื่องแขวนไทย เรื่อง ตาข่ายหน้าช้างขนาดเล็กจากลูกปัด สำหรับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 วิชางานประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนราชบพิธ จำนวน 24 คน โดยใช้ สื่อการสอน แบบทดสอบภาคปฏิบัติแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของสื่อการสอนและแบบสอบถามความพึงพอใจเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าE1/E2 ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อการสอนมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยผล การประเมินระหว่างเรียนที่ประเมินโดยผู้สอน (E1) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.21 และผลการประเมิน หลังเรียนโดยผู้สอน (E2) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.17 สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของสื่อการสอนเป็นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 จึงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนราชบพิธได้ 2) การประเมินความเหมาะสมของสื่อการสอนโดยรวม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.27, σ = 0.655) และมีความ เป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.40, σ = 0.575) และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ ในระดับมาก (X̅ 4.41, S.D. = 0.768) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเนื้อหา (X̅= 4.51, S.D. = 0.624) รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อ การสอน ( X̅= 4.43, S.D. = 0.822) และน้อยที่สุดคือ ด้านสื่อการสอน (X̅= 4.31, S.D. = 0.876) สรุปได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก