จำนวนงานวิจัย ( 2 )

สํารวจความต้องการในการใช้พื้นที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จังหวัดลพบุรี
การวิจัย เรื่อง สํารวจความต้องการในการใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการรับบริการ ทางการศึกษาและความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าในการเปิด ศูนย์การศึกษา ศูนย์การศึกษาชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากผู้ใช้บัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐ และเอกชน และผู้นําชุมชนที่อยู่ในรัศมีใกล้เคียงอําเภอชัยบาดาล จํานวน 10 คน และการตอบแบบสอบถามโดยนักเรียนที่กําลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ในพื้นที่อําเภอชัย บาดาล จํานวน 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า อําเภอชัยบาดาลมีความต้องการแรงงานทักษะสูงและ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ส่งผลให้มีความต้องการบัณฑิตที่มีทั้งทักษะเฉพาะทางที่จําเป็นต้น วิชาชีพ (Hard Skill) และทักษะที่องค์กรต้องการในการทํางาน (Soft Skill) รวมทั้งควรมีการพัฒนาทักษะทั้งสองด้านอย่างต้อเนื่องภายหลังสําเร็จการศึกษาโดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานวิชาชีพ ทั้งนี้นักเรียนตัดสินใจศึกษาต่อจากความสนใจใน สาขาวิชา โอกาสในการประกอบอาชีพ และสิ่งอํานวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย โดยมีความคาดหวังว่าจะได้รับการศึกษาในหลักสูตรที่ทันสมัย มีคุณภาพ และมีโอกาสในการ ประกอบอาชีพเมื่อสําเร็จการศึกษา ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต้อระดับอุดมศึกษาของ นักเรียนที่กําลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในพื้นที่อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อการจัดตั้งศูนยการศึกษาของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยด้านมาตรฐานและความพร้อม ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัย ด้านชื่อเสียงและบริการ

การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน วิชาเอกเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการปรับปรุงหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน วิชาเอกเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากล่มย่อย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างจำนวน 107 คน สนใจในการทำงานเบื้องหลังโฆษณา หรือกองถ่ายทำมากที่สุด จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 23.94 แต่กลุ่มตัวอย่างไม่รู้จักคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 71.03 สำหรับการเปิดรับสื่อ พบว่าเปิดรับสื่อบุคคลมากที่สุด จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 62.03 นอกจากนี้พบว่า เพื่อน/รุ่นพี่ เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาต่อของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 37.40 รองลงมา คือ สื่อสังคมออนไลน์ และข้อมูลในอินเทอร์เน็ต จำนวน 30 คน คน คิดเป็นร้อยละ 28.04 ด้านการจัดการศึกษาพบว่าหลักสูตรตรงตามความต้องการของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 36.40 และความต้องการศึกษาเฉพาะสาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 43.00 สำหรับการคัดเลือกเข้าศึกษา กลุ่มตัวอย่างต้องการให้พิจารณาจากค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 37.40 และต้องการศึกษาในเวลาราชการ (จันทร์-ศุกร์ 8.00-16.30 น.) อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.40 2. ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เรียน พบว่า หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน วิชาเอกเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์และคุณวุฒิของอาจารย์มีความเหมาะสม โดยผู้เรียนสนใจวิชาปฏิบัติมากกว่าทฤษฎีและไม่สนใจวิชากลุ่มศึกษาทั่วไป ส่วนผลการสนทนากลุ่มย่อย ผู้เชี่ยวชาญพบว่า แนวโน้มของอุตสาหกรรมด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์เข้าสู่ยุคดิจิทัลมีเดีย ดังนั้น ทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คือ ทักษะด้านดิจิทัลมีเดีย การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การคิดวิเคราะห์ การเขียนเนื้อหาในสื่อออนไลน์ (Content) การรู้จักใช้สื่อ หรือ การใช้เครื่องมือแต่ละประเภท เป็นคนทันสมัยทันข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน และเป็นคนอยากเรียนรู้เพิ่มตลอดชีวิต