จำนวนงานวิจัย ( 7 )

การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจเขียว: กรณีการแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งโดยใช้การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีกราฟ
การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจเขียว: กรณีการแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งโดยใช้การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีกราฟ

การแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งโดยใช้การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีกราฟ การวิเคราะห์ผลใช้การศึกษาเส้นทางการจราจรบริเวณสะพานพระรามเจ็ดโดยพิจารณาจากการแสดงความคล่องตัวของการจราจรด้วยสีบน google map ในช่วงเวลา (07.00-8.00 น.) และใช้แนวคิดพื้นฐานของจุดและเส้นเพื่อสร้างกราฟเส้นทางการจราจรบริเวณสะพานพระรามเจ็ด ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงเวลา 7.00-8.00 น. ถนนหน้าพระจอมเกล้าพระนครเหนือและถนนก่อนถึงแยกไฟสัญญาณจราจรลอดใต้สะพานพระรามเจ็ดการจราจรคล่องตัวช้ามาก นอกจากนี้แยกหน้าพระจอมเกล้าพระนครเหนือคล่องตัวช้าก่อนถึงแยกสัญญาณไฟจราจร การใช้เส้นทางการจราจรในถนนช่วงเวลาก่อน 7.00 น. ทำให้การขับขี่ยานพาหนะคล่องตัวได้ดี และช่วงเวลาที่มากขึ้น ความคล่องตัวของการใช้รถบนเส้นทางการจราจรบริเวณสะพานพระรามเจ็ดคล่องตัวล่าช้ามากขึ้นจนถึงเวลา 8.00 น.

2566
นวัตกรรมสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเคลือบกระดาษเช็ดมือเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนบนผิวหนัง
นวัตกรรมสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเคลือบกระดาษเช็ดมือเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนบนผิวหนัง

งานวิจัยนี้ต้องการพัฒนาชุดคิทสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเพื่อการสเปร์ยเคลือบกระดาษเช็ดมือ ด้วยหลักการใช้จุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติกส์เพื่อสุขภาพ ที่คัดแยกจากโยเกิร์ตและคอมบูชาหมัก ด้วยน้ำหมักกระเทียมที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อโรคเมื่อสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 80 แล้วกำจัดเอทานอลออกจนได้สารสกัดน้ำหมักกระเทียมและสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในน้ำหมักกระเทียม มีประสิทธิภาพในการทำงานทั้งก่อนและหลังจากเคลือบบนกระดาษเช็ดมือ ในการยับยั้งจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางผิวหนัง ก่อให้เกิดท้องเสีย และกำจัดเชื้อที่เป็นตัวบ่งบอกถึงความไม่สะอาด และก่อให้เกิดอาการไข้ในรูปของเชื้อที่ผสมกัน คือ เชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Streptococcus faecalis โดยกระดาษเช็ดมือที่เคลือบด้วยสารสกัดกระเทียมหมักสามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคทั้งสามชนิดได้ดี โดยส่งเสริมการลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนแบคทีเรียดังกล่าวทั้งหมดด้วยวิธี Disk Agar Diffusion Method และ (MIC50 ในระยะเวลา 60 วัน) ทั้งยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือโพรไบโอติกส์ ให้ยังคงอยู่ด้วยวิธี Serial Dilution เมื่อนำกระดาษเช็ดมือดังกล่าวเก็บไว้ในภาชนะปิด แห้ง ไม่มีแสง สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องและที่อุณหภูมิเย็น 4oC ได้นานอย่างน้อย 60 วัน และนานมากกว่า 180 วัน ตามลำดับ ส่วนสารสกัดน้ำหมักกระเทียมที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 20-200 mg/mL สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นานมากกว่า 6 เดือนหากน้ำหมักกระเทียมที่ได้มาจากการหมักในอาหารเหลวที่เติมนมสดร้อยละ 50 งานวิจัยที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าชุดคิทสารสกัดน้ำหมักกระเทียมพร้อมการใช้งานเพื่อใช้ฉีดพ่นบนกระดาษเช็ดมือ มีศักยภาพและสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ระดับอุตสาหกรรม ทำให้ได้แนวทางการใช้สมุนไพรต่อยอดเพื่อการป้องกันการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นแนวทางหนึ่งของเทคโนโลยีสีเขียว ลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ ลดปัญหาของสิ่งแวดล้อมและอันตรายจากการใช้สารเคมี

2566
การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต
การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต

เทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยจำลองให้เราไปอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ได้แม้จะนั่งอยู่กับที่ก็ตาม โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ สมาร์ทโฟน แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังปลุกกระแสเพื่อปูทางไปสู่โลกแห่งอนาคต และ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการ พัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง Virtual Reality (VR) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เข้าสู่โลกเสมือนจริงที่ผู้เรียนไม่สามารถทำได้ในสภาพจริง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อ พบว่าสื่อเสมือนจริง วีอาร์ ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.72 และ ด้านสื่อและวิธีการนำเสนอ มีค่าเฉลี่ย 4.53 คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

2566
ผลกระทบของกระบวนการทอร์รีแฟคชันต่อการเกิดความร้อนด้วยตัวเองของสนที่ผ่านกระบวนการทอร์รีแฟคชัน
ผลกระทบของกระบวนการทอร์รีแฟคชันต่อการเกิดความร้อนด้วยตัวเองของสนที่ผ่านกระบวนการทอร์รีแฟคชัน

งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและความรุนแรงของกระบวนการทอร์รีแฟค ชันต่อพฤติกรรมการเกิดความร้อนด้วยตัวเองของไม้สนที่ผ่านการทอร์รีแฟคชัน โดยมีเป้าหมายเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความร้อนด้วยตัวเองในกระบวนการทอร์รีแฟคชัน ผลการศึกษา พบว่า ที่อุณหภูมิที่ 60 °C น้ำหนักของไม้สนที่ผ่านการทอร์รีแฟคชันยังคงเสถียรในระหว่าง กระบวนการออกซิเดชัน ทั้ง 10% และ 30% ของการลดลงของน้ำหนักเริ่มต้น ซึ่งบ่งชี้ถึงการเกิด กระบวนการออกซิเดชันที่น้อยมาก ในขณะที่ 120 °C มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของน้ำหนักซึ่งเกิดจาก การดูดซับออกซิเจน แต่ที่ 180 °C พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักในระยะเริ่มต้นตามด้วยการลดลง อย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการสลายตัวของออกซิเจน และกระบวนการออกซิเดชันของคาร์บอน โดยตรง ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นเพิ่มโอกาสในการเกิดความร้อนด้วยตัวเอง จึง แนะนำให้ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 120 °C เพื่อลดความเสี่ยงนี้ นอกจากนี้การศึกษายังเน้นถึงความรุนแรง ของกระบวนการทอร์รีแฟคชันที่มีผลต่อการเกิดความร้อนด้วยตัวเอง อุณหภูมิทอร์รีแฟคชันที่สูงขึ้น จะเพิ่มแนวโน้มในการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้ชีวมวลมีความเสี่ยงต่อการเกิดความร้อนด้วย ตัวเองมากขึ้น งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความรุนแรงของกระบวนการ ทอร์รีแฟคชัน และพฤติกรรมการเกิดความร้อนด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการจัดการและ การแปรรูปชีวมวลที่ผ่านการทอร์รีแฟคชันอย่างปลอดภัย

2567
ผลกระทบจากอุณหภูมิและผลได้เชิงมวลต่อคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงของฟางข้าวที่ผ่านกระบวนการทอร์รีแฟคชัน
ผลกระทบจากอุณหภูมิและผลได้เชิงมวลต่อคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงของฟางข้าวที่ผ่านกระบวนการทอร์รีแฟคชัน

งานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาผลกระทบของเวลาในการทอร์รีแฟคชัน อุณหภูมิในการทอร์รี แฟคชัน และการสูญเสียน้ำหนักของฟางข้าว ต่อคุณสมบัติของฟางข้าวที่ผ่านกระบวนการทอร์รีแฟค ชัน โดยดำเนินการทอร์รีแฟคชันที่อุณหภูมิ 220 °C, 250 °C และ 280 °C โดยตั้งเป้าหมายการสูญเสีย น้ำหนักที่ 10%, 20% และ 30% ของน้ำหนักเริ่มต้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มอุณหภูมิในการ ทอร์รีแฟคชันช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการบรรลุการสูญเสียน้ำหนักของฟางข้าวได้อย่างมีนัยสำคัญ การ วิเคราะห์ทางกายภาพเผยให้พบว่าปริมาณคาร์บอนคงที่ของฟางข้าวเพิ่มขึ้นหลังจากกระบวนการทอร์ รีแฟคชัน โดยมีค่าระหว่าง 22.45% ถึง 28.48% ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและการสูญเสียน้ำหนักของฟาง ข้าว ในทางตรงกันข้าม ปริมาณสารระเหยและความชื้นลดลง ซึ่งสะท้อนถึงคุณสมบัติพลังงานที่ดีขึ้น ของชีวมวลที่ผ่านการทอร์รีแฟคชัน ปริมาณเถ้าสูงขึ้นหลังจากการทอร์รีแฟคชัน แสดงให้เห็นถึงสาร อนินทรีย์ที่เหลืออยู่มากขึ้น การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีแสดงให้เห็นว่าปริมาณไนโตรเจนคงที่ ขณะที่ปริมาณคาร์บอนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อปริมาณไฮโดรเจนและออกซิเจนลดลงตามความ รุนแรงของกระบวนการทอร์รีแฟคชัน ค่าอุณหภูมิความร้อนสูงสุด (HHV) ของฟางข้าวเพิ่มขึ้นจาก 16.55 MJ/kg ก่อนการทอร์รีแฟคชัน เป็นค่าในช่วง 17.59 ถึง 18.88 MJ/kg ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความ มีประสิทธิภาพของกระบวนการในการเพิ่มพลังงานของเชื้อเพลิง โดยรวมแล้ว ผลการศึกษาชี้ให้เห็น ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขการทอร์รีแฟคชันและคุณสมบัติของชีวมวล โดยการควบคุมอุณหภูมิ และการสูญเสียน้ำหนักของชีวมวลอย่างเหมาะสมสามารถปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงของฟางข้าวได้ อย่างมีนัยสำคัญ

2567