จำนวนงานวิจัย ( 7 )

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลทรายในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ศึกษานมผงทดแทนส่วนผสมของไขมันในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ และศึกษาปริมาณคอลลาเจนที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผูู้สูงอายุ โดยเริ่มจากการศึกษาสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลทรายในการผลิตผลิตภัณฑ์ พบว่า หญ้าหวาน:ซูคราโลส ในระดับที่ 50:50% ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบระดับมากที่สุดในระดับชอบปานกลาง โดยมีคPาpH อยู่ที่ 7.11.0.12 และมีค่าTSS อยู่ที่ 31.00.0.00 oBrix จากการศึกษานมผงทดแทนส่วนผสมของไขมันในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูป โดยสามารถทดแทนนมผงได้ทั้งหมด 100% ซึ่งจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสมีคะแนนความชอบอยู่ในระดับชอบปานกลาง และมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของค่า pH อยู่ที่ 7.52.0.02 และมีค่าTSS อยู่ที่28.00.0.01oBrix จากนั้นศึกษาปริมาณคอลลาเจน พบว่า ปริมาณคอลลาเจนที่ 30% เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูป โดยมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของค่า pH อยูPที่ 7.44.0.08 และมีค่าTSS อยู่ที่ 32.00.0.01oBrix และทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ผง สังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า จากการสุ่มตรวจทุก 2 สัปดาห์ เป็นนเวลา16 สัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงของค่า aw และค่าความชื้น ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นผันแปรกับระยะเวลาการเก็บรักษาที่นานขึ้นตามลำดับ ตลอด 16 สัปดาห์ผลิตภัณฑ์มีค่า aw อยู่ในช่วง 0.31-0.40 และค่าความชื้น อยู่ในช่วง 5.30-7.22% โดยเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 765/2548 ใบเตยผงสำเร็จรูป กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ aw ต้องไม่เกิน 0.5 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 1529/2562 น้ำนมข้าวโพดผงสำเร็จรูป กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ aw ต้องไม่เกิน 0.6 ซึ่งผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปมีค่าaw ไม่เกินมาตรฐานกำหนด ดังนั้นจากการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องของผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยังสามารถเก็บรักษาได้นานกว่า 16 สัปดาห์เนื่องจากยังมีค่า aw ไม่เกินมาตรฐานกำหนด

2565
การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ
การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาปริมาณอินูลินทดแทนน้ำตาลทรายที่มีผลต่อความหวานในนมข้นหวานจากข้าวโพด ผู้ชิมให้การยอมรับสูตรปริมาณอินูลินทดแทนน้ำตาลสูตรที่ 4 คือร้อยละ100 ในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ย ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 8.57 8.30 8.53 8.43 8.30 และ 8.40 ตามลำดับ พบว่า ด้านลักษณะที่ปรากฎและด้านกลิ่นไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนในด้านสี รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดมีปริมาณอินูลินในแต่ละสูตรไม่เท่ากัน ทำให้มีลักษณะของนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดแตกต่างกัน โดยอินูลินที่มีปริมาณมากกว่าจะส่งผลให้สี และรสชาติมีความแตกต่างกัน ดังนั้นสูตรที่ 4 จึงเป็นสูตรที่เหมาะสมเป็นสูตรนมข้นหวานข้าวโพดเพื่อสุขภาพและเพื่อศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพพบว่าผู้ชิมให้การยอมรับนมข้นหวานข้าวโพดในสูตรที่ 4 ผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดที่ระดับร้อยละ 100 นำมาศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคซึ่งเป็นนักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ที่ไม่ได้สังกัดสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 100 คน ด้วยวิธี Consumer Test โดยให้ทำแบบทดสอบผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำและตอบแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลเกี่ยวกับการยอมรับผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพด พบว่าด้านลักษณะปรากฎของผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดได้รับความชอบคิดเป็นร้อยละ 78 ด้านคุณลักษณะด้านสีได้รับความชอบที่ร้อยละ 68 ด้านกลิ่นมีความชอบคิดเป็นร้อยละ 93 ด้านรสชาติมีความชอบคิดเป็นร้อยละ 97 ด้านลักษณะเนื้อสัมผัส (ความข้นหนืด) มีความชอบคิดเป็นร้อยละ 79 และความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์มีความชอบคิดเป็นร้อยละ 95 จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพ พบว่านมข้นหวานข้าวโพดจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพในปริมาณ 100 กรัม มีองค์ประกอบทางเคมีของอาหารที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม 6.46 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34.4 มิลลิกรัม ไขมัน 0.81 กรัม ความข้นหนืด 724 เซนติพอยด์ วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม โปรตีน 1.10 กรัม ไม่พบคลอเลสเตอรอลซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุของการอุดตันในหลอดเลือดส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ แสดงให้เห็นว่านมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเมื่อเปรียบเทียบกับนมข้นหวานที่ทำมาจากนมผสมกับไขมันเนย หรือไขมันปาล์มทำให้มีปริมาณไขมันและนำตาลปริมาณมาก คุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียมจะต่ำกว่านมสดทำให้ควรจำกัดปริมาณรับประทาน

2565
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อสำรวจความต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทย จากกัญชา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทยจากกัญชา และเพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย และขนมไทยที่มีส่วนผสมของกัญชา ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยจากกัญชา ผลการสำรวจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย ได้แก่ อันดับที่ 1 แกงพะแนง มีค่าเฉลี่ย 4.57 อันดับที่ 2 แกงส้ม มีค่าเฉลี่ย 4.30 และขนมไทย ได้แก่ อันดับที่ 3 วุ้น มีค่าเฉลี่ย 4.20 อันดับที่ 4 ทองหยิบ มีค่าเฉลี่ย 4.13 และอันดับที่ 5 ปุ้ยฝ้าย ค่าเฉลี่ย 4.07 ตามลำดับ ผลการศึกษาปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยเมื่อนำไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสผู้ทดสอบชิมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย ดังนี้ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ให้การยอมรับการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 7.84 7.95 7.90 8.13 8.05 และ 8.08 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้ม ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.15 7.96 8.00 8.10 7.83 และ 8.19 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์วุ้น ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.10 8.20 7.95 8.03 และ 8.23 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ทองหยิบ ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.38 8.23 8.18 8.48 8.19และ 8.45 ตามลำดับ และปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ปุยฝ้าย ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.05 7.95 8.03 7.98 และ 8.10 ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า ในด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี และคุณภาพทางกายภาพการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ในการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ทั้ง 5 รายการ สามารถเสริมได้ แต่ควรคำนึงถึงองค์ประกอบทางเคมีของส่วนประกอบเริ่มต้น เช่น ปริมาณความชื้น และไขมัน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ อาจมีผลกระทบต่อคุณลักษณะทางกายภาพ เช่น กลิ่น และลักษณะเนื้อสัมผัส ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้มีผลกระทบต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์

2565
แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรีโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรีโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุที่นำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก (อาชีพที่มั่นคงและมีรายได้มากที่สุด) และรายได้ต่อเดือน 2) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรีโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) การดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และ 4) ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามโดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 382 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41 – 50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,001 บาท ระดับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับการปฏิบัติการดำรงชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีการนำแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านความพอประมาณ ด้านการมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขด้านคุณธรรม จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน มีการนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ แตกต่างกัน ในด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านความรู้ 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน มีการนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ แตกต่างกัน ประกอบด้วย ด้านความพอประมาณ ด้านการมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขด้านคุณธรรม 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ แตกต่างกัน ในด้านการมีเหตุผล 4) กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพหลักต่างกัน มีการนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ แตกต่างกัน ประกอบด้วย ด้านความพอประมาณ ด้านการมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขด้านคุณธรรม 5) กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีการนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ แตกต่างกัน ในด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี

2565
การบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลทางการเกษตรกร ความยั่งยืนเชิงพาณิยช์ระดับชุมชน ของกลุ่มเครือข่ายวิสหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี
การบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลทางการเกษตรกร ความยั่งยืนเชิงพาณิยช์ระดับชุมชน ของกลุ่มเครือข่ายวิสหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลค่า สามารถนำเปลือกส้มโอมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในการผลิต ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์ในการใช้เปลือกส้มโอเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ด้านสังคมและชุมชนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในด้านรสชาติ ลดทรัพยากรที่เหลือใช้แก่ชุมชนและเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างคุณภาพทางประสาทสัมผัส ของหยีสูตรที่มีปริมาณเปลือกขาวส้มโอ นั้นมีผลต่อการยอมรับของผู้ทดสอบชิม ปริมาณเปลือกขาวส้มโอร้อยละ 10 แยมร้อยละ 5 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ รวมจากทุกรายข้อของการประเมิน พบว่า กระเป๋า ได้รับความพึงพอใจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ผ้าอเนกประสงค์ ตามลำดับ รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท เมื่อพิจารณาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย สีสัน ลวดลายของผ้า/รูปแบบผลิตภัณฑ์ และ ความเหมาะสม ความแข็งแรง ทนทานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งโดยรวมได้รับความพึงพอใจในระดับ มาก การพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมทางการตลาด สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผู้ประกอบการแปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม เป็นโอกาสทางการตลาดและกลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ผลิตภัณฑ์เน้นที่มีคุณภาพ ราคากำหนดตามราคาตลาด ช่อง ทางการจัดจำหน่ายใช้แบบออฟไลน์และออนไลน์ และการส่งเสริมการตลาดเน้นการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ จัดการส่งเสริมการขาย และการให้บริการของพนักงานขาย ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม ที่เหมาะสม นำมาสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศยั่งยืนต่อไป ปริมาณการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ปริมาณการใช้ผงเปลือกส้มโอในกรอบเค็มที่เหมาะสมคือร้อยละ 5 โดยผู้ชิมให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ส่วนปริมาณเปลือกส้มโออบแห้งที่เหมาะสมในกราโนล่า คือปริมาณร้อยละ 50 บ อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ทางเคมีการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 2 ผลิตภัณฑ์ การใช้ เปลือกส้มโอในขนม ขบเคี้ยวทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มปริมาณใยอาหารให้กับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น เมื่อนำผลิตภัณฑ์ ไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่าบริโภคให้การยอมรับขนมขบเคี้ยวจาก เปลือกส้มโอ และถ้ามีวางจำหน่ายในท้องตลาดผู้บริโภคสนใจซื้อเพราะผลิตภัณฑ์มีรสชาติกลมกล่อม/ ความอร่อย พอใจในราคา ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการผลิตผลิตภัณฑ์จากเปลือกส้มโอ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ พิมเสนน้ำจากเปลือกส้มโอ มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาพัดหอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ถุง หอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เทียนหอมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด และยาดมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับการศึกษาปริมาณที่ เหมาะสมในการใช้น้ำและเปลือกส้มโอในน้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการใช้น้ำส้มโอ ทดแทนน้ำเปล่าที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้มโอที่ระดับร้อยละ 15 และน้ำและเปลือกส้มโอ ในน้ำจิ้มซีฟู้ด พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการเสริมน้ำส้มโอที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้ม โอที่ระดับร้อยละ 15 ไม่แตกต่างจากสูตรพื้นฐาน และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าการใส่ น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอทำให้น้ำจิ้มมีปริมาณความชื้นที่ลดลง แต่ในขณะเดียวกันเถ้า ใยอาหาร และ คาร์โบไฮเดรตรวมมีปริมาณเพิ่มขึ้น น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 2 ประเภท คือ น้ำส้มโอพร้อมดื่มและน้ำส้มโอเข้มข้น พบว่าปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมใน น้ำส้มโอพร้อมดื่ม คือ ร้อยละ 3 ปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมในน้ำส้มโอเข้มข้น คือ ร้อย ละ 1.5 ผลการศึกษาปริมาณเสริมแป้งเปลือกขาวส้มโอที่เหมาะสมใน พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การ ยอมรับนักเก็ตเสริมเปลือกขาวส้มโอที่ร้อยละ 10 มากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อ สัมผัส และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาปริมาณแป้งเปลือกส้มโอ ขาวที่เหมาะสมในหอยจ้อ พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับปริมาณแป้งเปลือกส้มโอขาวที่ร้อยละ 10 มากที่สุด ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาคุณสมบัติทาง เคมี และกายภาพ พบว่า การเพิ่ม ปริมาณแป้งเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ไม่มีผลต่อสีของผลิตภัณฑ์ การศึกษา ปริมาณเปลือกส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้กในปริมาณพบว่าผู้ชิมให้การยอมรับปริมาณเปลือก ส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้ก 100% ด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม (p> 0.05)

2565