จำนวนงานวิจัย ( 7 )

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชนในชุมชนนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชนในชุมชนนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ สรรค์ของ จังหวัดเพชรบุรี มีดังนี้ 1. การประชาสัมพันธ์และการร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยต้องสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวในรายละเอียดความโดดเด่นของแต่ละชุมชน 2. การดำเนินโครงการที่ทางภาครัฐจัดขึ้นเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารที่ดี หากสามารถดำเนินการไปได้ในอนาคตเนื่องจากเป็นแผนที่อยู่ในความสนใจของประชากรทั้งโลก เทรนด์อาหารสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมเพราะผู้คนใส่ใจกับสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 3. เรื่องความยั่งยืนและความต่อเนื่องของนโยบายจากภาครัฐ รวมไปถึงงบประมาณที่ลงสู่ชุมชน ที่ต้องการสนับสนุนมากขึ้นในการจัดหาอุปกรณ์ในการผลิต การพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของพื้นที่ การสนับสนุนอย่างครบวงจรจึงเป็นสิ่งสำคัญ 4. การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนในจังหวัดในชุมชนที่ใกล้เคียงกันสามารถเดินทางท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายได้ การร่วมมือเป็นเครือข่ายเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปทุกท้องถิ่น

2565
แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จัดเป็นแหล่งท่องที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษกิจของจังหวัดสมุทรสงคราม และมีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการบริการอาหารคาว-หวานโบราณของไทยทั้งบนบกและในเรือ เช่น ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ผัดไทย หอยทอด ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมสัมปันนี และขนมไทยโบราณที่หาทานยาก นอกจากนี้ ตลาดน้ำอัมพวายังมีร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างและวิถีชีวิตของประชาชนในอดีตที่มีอายุยาวเกินกว่าร้อยปี เพื่อให้มีการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการจัดการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวา และเพื่อหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 การวิจัยนี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Method) โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับการจัดการ การให้บริการและการจัดการท่องเที่ยวในบริเวณตลาดน้ำอัมพวาจากแบบสอบถามจำนวน 200 คน และจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) การท่องเที่ยวตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีผลกระทบทางบวก หรือมีผลดีต่อการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้าอัมพวา ทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้านและไม่ท้าให้เกิดปัญหาสังคมต่อชุมชน เช่น การลักขโมย หรือยาเสพติด การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมวัดในจังหวัดสมุทรสงครามมากขึนและท้าให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น งานศิลปหัตถกรรม การสร้างผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และยาสมุนไพร การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้เกิดการกระจายรายได้ของชาวบ้านและท้าให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวของตลาดน้าอัมพวาไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในด้านน้ำเสีย ขยะ หรือฝุ่น PM 2.5 และไม่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อแบบเป็นกลุ่ม 2) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวาหลังการเปิดประเทศไทยปี พ.ศ. 2565 มีดังนี้ 1) ควรมีความร่วมมือกันระหว่างชุมชน เอกชน และภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย 2) ควรใช้สื่อประชาสัมพันธ์อาจใช้แคมเปญจากภาครัฐและการให้ความรู้ 3) ใช้บทลงโทษทางสังคมหรือกฎระเบียบสังคม 4) บังคับใช้กฎหมายเพื่อปรับ 5) ควรใช้มาตรการป้องกันโรคติดต่อและมาตรฐานความสะอาด

2566
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวและการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อนันทนาการในสถานการณ์โควิด – 19 ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวและการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อนันทนาการในสถานการณ์โควิด – 19 ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวและการวางแผน กลยุทธ์ทางการตลาด ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปาการ ในสถานการณ์โควิด-19 โดยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว จำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทำการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ จานวน 10 คน จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้ทั้ง 2 ส่วน มาวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษาต่อไป ผลการศึกษาการวิจัย พบว่า ด้านการจัดการการท่องเที่ยวจากการสอบถามนักท่องเที่ยวและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องกันว่าเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีแนวทางในจัดการจัดการการท่องเที่ยวในสถานการณ์โควิด–19 อยู่ในแนวทางที่ดีและมีความเหมาะสม ในด้านทางการตลาดนั้น เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการได้ปรับกลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว ชาวไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการเพิ่มจุดท่องเที่ยวด้านใน และปรับปรุงส่วนที่ทรุดโทรมของแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย

2565
การอนุรักษ์และการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนมรดกริมน้ำ กรณีศึกษา ชุมชนเรือนแพแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
การอนุรักษ์และการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนมรดกริมน้ำ กรณีศึกษา ชุมชนเรือนแพแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำคัญทางวัฒนธรรมและทรัพยากรมรดกของชุมชนเรือนแพแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี 2) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับชุมชนแพแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี และ 3) เสนอนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวกับหน่วยงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเรือนแพแม่นํ้าสะแกกรังเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมเป็นผลมาจากกระบวนการพัฒนาของสังคมในเรื่องคุณค่าและความต้องการของสังคมที่ตระหนักถึงการดำรงชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ทั้งชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานตลอดจนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ทางจิตใจ เรือนแพที่แม่น้ำสะแกกรังยังเป็นเรือนแพที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยและยังคงความเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่มีเสน่ห์และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเอาไว้ ชุมชนเรือนแพสามารถพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับปลาแรด การทำอาหารจากปลาแรดโดยการประสานกับที่พักหรือโฮมสเตย์ให้มีการเรียนรู้ลงมือทำเป็นกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวต้องการการสนับสนุนจากงานพัฒนาชุมชนในการออกแบบกิจกรรมหรือการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน นโยบายหรือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ชุมชนควรมีการสร้างเรื่องราวของชุมชนก่อนสร้างเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อออนไลน์ และการทำโมเดลการท่องเที่ยวให้เห็นภาพเบื้องต้นรวมทั้งการรวบรวมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน

2565
ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาผลกระทบก่อนและหลังเกิดสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ในมุมมองของผู้ประกอบการ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบก่อน และหลังจากสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ความคิดเห็นที่มีต่อผลกระทบก่อนและหลังจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านการท่องเที่ยว และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และ 3) ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 - 35 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งพนักงาน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6 – 10 ปี และผลการวิเคราะห์ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลกระทบก่อนและหลังสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยว พบว่า ผลกระทบก่อนและหลังเกิดสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางการท่องเที่ยว และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ นั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) หากไม่มีการปรับตัวในเรื่องของธุรกิจบริการต่าง ๆ ก็จะทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นขาดรายได้ ซึ่งมีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจที่พัก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจการบิน เพราะธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในหลาย ๆ ธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการบางแห่งถึงขั้นปิดตัวลงเพราะสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไม่ไหว อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก งดการเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ปิดประเทศ งดการเดินทางเข้า - ออกระหว่างประเทศ ห้ามออกจากเคหสถานในยามวิกาล ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวหายไปช่วงหนึ่ง ดังนั้น ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 5.3.2 ควรเพิ่มมาตรการในการดำเนินการป้องกัน ควบคุมการติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ให้ถูกสุขลักษณะของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น

2565