จำนวนงานวิจัย ( 9 )

การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน   จังหวัดสมุทรสาคร
การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและรูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาครกับปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3. เพื่อศึกษารูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเสนอความคิด การวางแผน และการตัดสินใจ ด้านการดำเนินการและการปฏิบัติการ ด้านการรับและแบ่งบันผลประโยชน์ และด้านการติดตามและประเมินผล และ 3) ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวและคนในชุมชน จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐ / เจ้าหน้าที่ของรัฐ / รับราชการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 – 15,000 บาท 2) ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านการติดตามและประเมินผล มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเสนอความคิด การวางแผน และการตัดสินใจ ด้านการดำเนินการและปฏิบัติการ และด้านการรับและแบ่งปันผลประโยชน์ 3) ระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเสนอความคิด การวางแผน และการตัดสินใจ 2) ด้านการดำเนินการและปฏิบัติการ 3) ด้านการรับและแบ่งปันผลประโยชน์ และ 4) ด้านการติดตามและประเมินผล ในภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เนื่องจากคนในชุมชนนั้นให้คอยให้ความร่วมมือในการดำเนินการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน เสนอโครงการ หรือกิจกรรมของชุมชน จัดทำโครงการ เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ในชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยมีการบริจาค สมทบทุน จัดตั้งคณะกรรมการในการจัดงานต่าง ๆ ในชุมชน สามารถนำสินค้าที่ตัวเองมีมาขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและชุมชน รวมถึงมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุน ติดตาม ดำเนินการกำกับดูแล และหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และสร้างสรรค์ชุมชนของตนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร 4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นต่อ ระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและรูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เนื่องจาก คนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง เพศชาย อายุน้อยจนถึงอายุมาก หรือจะมีอาชีพแตกต่างกัน รวมไปถึงรายได้เฉลี่ยต่อเดทอนแตกต่างกัน ก็ยังให้ความร่วมมือในการสนับสนุนและพัฒนาชุมชนของตนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร 5) รูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาครนั้นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากคนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งทุกคนที่อาศัยในชุมชนต่างก็พัฒนาชุมชนของตนเองให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการทำเครื่องเบญจรงค์ หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร หรือการเยี่ยมชมวิถีชีวิตของคนในชุมชนเมืองประมงของชาวจังหวัดสมุทรสาคร

2565
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี2) เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนใช้การสุ่มแบบสะดวกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีภาพรวมอยู่ในระดับมาก2) ระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ในระดับมาก

2566
การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี
การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี

การวิจัยเรื่อง ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ คือ ประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิต ของโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี และศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยนี้เป็นแบบวิจัยแบบผสมผสาน โดยเชิงปริมาณเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน ใช้เครื่องมือแบบสอบถามปลายปิด ใช้สถิติพรรณนาและอนุมารในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงกลุ่มกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีรายได้อยู่มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน โดยมีระดับความเห็นต่อโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรีในภาพรวมในระดับในระดับมาก เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านการประเมินผลผลิต ด้านการประเมินกระบวนการ และด้านบริบท ซึ่งพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลให้มีระดับความเห็นต่อโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี มี 3 ข้อ คือ 1) ควรที่จะพัฒนาระบบตรวจสอบและติดตามผลที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบการสื่อสารข้อมูลและป้อนข้อมูลกลับที่ชัดเจน 2) ควรสนับสนุนจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรในชุมชน ในการใช้งานและการพัฒนาเทคโนโลยีลดคาร์บอน และ 3) ควรสร้างกลไกการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดประชุมร่วมกับชุมชน การสร้างเครือข่ายการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรับรู้และความผูกพันร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน

2566
การพัฒนาโซเชียลคอมเมิรซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
การพัฒนาโซเชียลคอมเมิรซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและพฤติกรรมการใช้การตลาดดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีและเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยการสัมภาษณ์ เชิงลึกจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) โดยนำเสนอผลการศึกษาในรูปตารางประกอบการบรรยาย และแสดงข้อมูลทางสถิติวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลในเดือนเมษายน 2567ผลการวิจัยเรื่องการพัฒนาโซเชียลคอมเมิร์ซเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ ประกอบไปด้วย กรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ จำนวน 6 คน และสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ จำนวน 4 คน รวม 10 คน พบว่า เป็นเพศหญิงทั้งหมด ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย7 ปี 2) รูปแบบการใช้โซเชียลคอมเมิร์ซ พบว่า ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่หลากหลายจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 รูปแบบการตลาดแบบเดิม พบว่า ไลน์กลุ่มได้รับความนิยมในการทำการตลาดแบบเดิม และติดต่อสื่อสารกับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดโคนน้อยเมืองนนท์ มากที่สุด ร้อยละ 80 ส่วนที่ 2 ความต้องการพัฒนาการตลาดแบบใหม่ พบว่า ติกตอก ได้รับความนิยมมากที่สุด ร้อยละ 80 ส่วนที่ 3 สื่อมัลติมีเดียที่ต้องการนำเสนอตลาดเนื้อหา พบว่า สื่อภาพเป็นสื่อมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สื่อภาพ ร้อยละ 80 และส่วนที่ 4 สินค้ายอดนิยมที่ต้องการนำเสนอทุนทางวัฒนธรรม พบว่า สินค้ายอดนิยมที่ต้องการนำเสนอทุนทางวัฒนธรรมมากที่สุด คือ แหนมหมู ร้อยละ 70 3) การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการใช้โซเชียลคอมเมิร์ซ ได้แก่ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ยูทูบ และติกตอก 4) การปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์สำหรับวิสาหกิจชุมชน โดยกำหนดแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในแต่ละทางเลือกโดยใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix ออกมาเป็น 2 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์เพื่อประชาสัมพันธ์ และการโฆษณาในโซเชียลคอมเมิร์ซและกลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าในโซเชียลคอมเมิร์ซสำหรับวิสาหกิจชุมชนยุคดิจิทัล

2567